กวีสยาม

กวีสยาม

0 รีวิว  0 รีวิว    
รหัสสินค้า: 9786165001137
ของหมด (ต้องการสินค้า)
ราคา: 180.00 บาท 142.20 บาท
ประหยัด: 37.80 บาท ( 21.00% )

เนื้อหาบางส่วน

กรมสมเด็จพระปรมานุชิฅชิโนรส

ในบรรดาเรื่องเกี่ยวกับราชสกุลวงศ์นั้น เรื่อง ปฐมวงศ์ เป็นเรื่องที่มี

รายละเอียดมากกว่าหนังสืออื่นๆ และเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ก็เป็นปัญหาอยู่บ้างที่มี ปฐมวงศ์ หลายฉบับ มีข้อความต่างกันบ้างในบางแห่ง บางฉบับก็กล่าวไว้ชัดเจนในตอนต้น

เรื่องว่า “วันพฤหัสบดี ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๑๑ จุลศักราช ๑๒๒๒  ปีวอก

โทศก (วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๐๓) มีพระบรมราชโองการ (ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) โปรดเกล้าฯ ดำรัสสั่งให้พระศรีสุนทรโวหาร (ฟัก สาลักษณ์) เจ้ากรมพระอาลักษณ์จดหมายเหฅุ (พระโวหารสำแดงให้ตระหนักว่าตรัสบอกให้จด) ไว้สำหรับแผ่นดิน เพื่อจะให้พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในฝ่ายหน้า ได้ทรงทราบ99

ส่วนปฐมวงศ์อีกฉบับหนึ่ง (รวมอยู่ในประชุมพงศวาดารภาคที่ ๘) ไม่ได้แจ้งกาลเวลาที่มีพระบรมราชโองการ แค่ข้อความบางตอน ละเอียดพิสดารกว่าฉบับแรก เช่นในคอนที่กล่าวถึงพระประวัติของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ได้กล่าวไว้ว่า 66พระองค์เจ้าวาสุกรี เจ้าจอมมารดาเป็นพระสนมโท บุตรพระราชาเศรษฐี ทรงพระผนวชมาแค่ยังทรงพระเยาว์พระชนมีได้ ๑๔ พรรษา

เมื่อพระชนม์ครบ ๒๐ ได้อุปสัมปทาเป็นพระภิกษุได้ ๔ พรรษา เป็น อธิบดีสงฆ์แล้วได้เลื่อนเป็นเจ้าต่างกรมมีพระนามว่า กรมหมื่นอนุชิต- ชิโนรส ศรีสุคตขัตติยวงศ์ พระองค์เป็นอัจฉริยะมนุษย์บุรุษรัตน์ อันพิเศษ ทรงพระปรีชาฉลาดรู้ในพระพุทธศาสน์แลราชศาสตร์แบบอย่างโบราณราชประเพณีต่างๆ แลได้เป็นอุปัชฌายจารย์เจ้าฟ้า พระองค์เจ้าหม่อมเจ้า ในพระบรมราชวงศ์นี้มากหลายพระองศ์ ภายหลัง เมื่อในแผ่นดินปัจจุบันนี้ ได้เลื่อนเป็นกรมสมเด็จพระปรมานุชิฅชิโนรส ศรีสุคตขัตติยวงศ์ มหาปาโมกข์ ประธานวโรดมบรมนาถบพิตร เสด็จสถิต ณ วัดพระเชฅุพนวิมลมังคลาราม99

เมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๓๔๕ กรมพระราชวังหลัง (สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์) มีพระชนม์ได้ ๕๖ พรรษา ทรงผนวชเมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๔๕  มีปรากฏในร่างรับสั่งตอนหนึ่งว่า “พระฤกษ์จะได้ทรงผนวชพระเจ้าหลานเธอกรมพระราชวังหลัง พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าวาสุกรี พระองค์เจ้าฉัฅร ทรงผนวช เป็นหางนาค99 จึงได้หลักฐานชัดเจนว่า พระองค์เจ้าวาสุกรีทรงผนวชเป็นสามเณรเมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๓๔๕ เมื่อพระชนม์ ๑๒ พรรษา ณวัดพระศรีสรรเพชญ์ (ภายหลังเปลี่ยนเป็นวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์) ผนวชแล้วเสด็จประทับวัคโพธิ์ (วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม) ทรงศึกษาในสำนักสมเด็จพระพนรัฅน วัคพระเชตุพนฯ

ครั้นถึงรัชกาลที่ ๒ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุเมื่อราวปีมะแม พ.ศ. ๒๓๕๔ เข้าใจว่า สมเด็จพระสังฆราช (สุก) เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระพนรัตน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเป็นพระกรรมวาจาจารย์ เล่ากันมาว่าทรงผนวชได้สัก ๓ พรรษา สมเด็จพระพนรัตน วัดพระเชตุพนฯ ถึงมรณภาพในพรรษา ครั้นออกพรรษาพระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จไปพระราชทานพระกฐิน จึงทรง ตั้งให้เป็นพระราชาคณะให้ครองพระกฐิน ตามเรื่องว่า กรมสมเด็จ พระปรมานุชิตชิโนรสได้ถวายพระพรว่าไม่ได้เตรียมอปโลกน์ไว้ จึงมีพระราชดำรัสให้พระราชาคณะรูปอื่นว่าอปโลกน์แทนและได้กลายเป็น ประเพณีต่อมาจนทุกวันนี้ ที่เจ้าอาวาสไม่ต้องว่าอปโลกน์ พระราชาคณะ รูปที่ ๒ ที่ ๓ เป็นผู้ว่าอปโลกน์

หลังจากได้เป็นพระราชาคณะครองวัดพระเชตุพนฯ แล้วไม่นานก็ได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัตติยวงศ์ แต่สมณศักดิ์ยังเสมอพระราชาคณะสามัญ จนถึงรัชกาลที่ ๓ เมื่อทรง ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ แล้ว ทรงตั้งเป็นเจ้าคณะกลาง ได้ทรงว่า

® เป็นประเพณีของวัดนี้ที่กำหนควันแรม ๘ คํ่า เดือน ๑๑ เป็นวันพระราชทานผ้า กฐินและเสด็จพระราชทานผ้ากฐินเป็นวัดแรก เพิ่งมาเปลี่ยนเป็นวัดที่ ๓ ในสมัยรัชกาลที่ ๖

 

ในหนังสือราชสกุลวงศ์กล่าวว่า พระองค์เจ้าวาสุกรีเป็นพระราชโอรสลำคับที่ ๒๘ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือนอ้าย ขึ้น ค่ำ ตรงกับวันที่ ๑๑ ธันวาคม ปีจอ พ.ศ. ๒๓๓๓ เป็นพระองค์เจ้าเพียงพระองค์เดียวของ เจ้าจอมมารดาจุ้ย ซึ่งต่อมาเป็นท้าวทรงกันดาล

พระราชาเศรษฐีซึ่งกล่าวว่าเป็นบิดาเจ้าจอมมารดาจุ้ยนั้น ในเอกสารบางแห่งกล่าวว่าต่อมาได้เป็นพระยาภักดีนุชิต ตั้งบ้านเรือน อยู่ฝั่งแม่น้ำด้านตะวันออกตรงท่าน้ำวัดเลียบ (วัคราชบุรณราชวรวิหาร) พระยาภักดีนุชิตมีชื่อเป็นภาษาญวนว่า 66องว่างถ่าย” หรือ “องเถิ่ง,, มี บุตร ๗ คน เจ้าจอมมารดาจุ้ยเป็นคนที่ ๓ ประวัติดังกล่าวนี้เมื่อเทียบกับประวัติในหนังสือประฐมอารัมภะวัณณะนา เล่ม ๒ หรืออีกชื่อว่า มหามุขมาตยานุกูลวงศ์ เล่ม ๒ ของ ก.ศ.ร. กุหลาบแล้ว ก็ได้ความตรงกัน จะผิดเพี้ยนกันอยู่บ้างก็ตรงที่ในฉบับของ ก.ศ.ร. กุหลาบกล่าวว่าเจ้าจอมมารดาจุ้ยได้เป็นท้าววรจันทร์เท่านั้น

มีหมายเหตุว่า "ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว" แสดงว่า เรื่องนี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในรัชกาลที่ ๖ (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๖๐)

ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม, พระประวัติพระนิพนธ์สมเด็จพระปรมานุชิตฯ (โรงพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช), ๒๕๐๕

 

กล่าววัดในแขวงกรุงเทพฯ ซึ่งโปรดให้วัดตั้งเป็นคณะกลางขึ้นใหม่ มีสมณศักดิ์เสมอเจ้าคณะรอง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพ ได้ทรงพระนิพนธ์ไว้ตอนหนึ่งว่า

“กรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ เมื่อยังทรงเป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรส เห็นจะได้เป็นอาจารย์เจ้านายหลายพระองค์ มีเนื้อความปรากฏ ในพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงไว้ว่า เมื่อพระองค์ยังทรงพระเยาว์อยู่นั้นได้ทรงศึกษาอักขรวิธีและพระพุทธวัจนะและวิชาการคคีโลกอื่นๆ ในสำนักกรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ เจ้านายพระองค์อื่นที่ได้ทรงศึกษาก็คงจะมีอีก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงผนวชอยู่ใน เวลานั้น ทรงเคารพนับถือกรมสมเด็จพระปรมานุชิตมากทั้งสองพระองค์..

และมีเรื่องซึ่งครั้งหนึ่งเป็นความลับรู้กันแค่ในพระราชวงค์ว่า การที่ สมเด็จพระปรมานุชิตฯ กับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อยังทรงผนวชอยู่ได้เคยทรงปรารภปรึกษากันว่า ถ้าพระบาทสมเด็จพระมณฑป (หอไตร'?ฅุรมุฃ)

พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต ถ้าราชสมบัติได้แก่เจ้านายบางพระองค์ จะถูกเบียดเบียนได้รับความเดือดร้อน ทรงพระดำริเห็นพร้อมกันว่าควร จะสร้างวัดเล็กๆ ไว้ในเรือกในสวนสักแห่ง ๑ ถ้าถึงเวลาคับแค้นเมื่อใด จะเสด็จออกไปอยู่เสียที่วัดนั้นให้ห่างไกล อย่าให้เป็นที่กีดขวางราชการบ้านเมือง ทรงคำริพร้อมกันเป็นความลับอย่างนี้ กรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ จึงไปทรงสร้างวัดชิโนรส ขึ้นในคลองมอญ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงไปสร้างวัดนอกซึ่งพระราชทาน นามว่าวัดบรมนิวาสเมื่อภายหลัง99

ครั้นรัชกาลที่ ๓ สวรรคต เหตุการณ์ไม่ได้เป็นไปตามที่ได้ทรงปริวิตก เจ้าฟ้ามงกุฎไค้เสวยราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๔ และโดยเหตุที่ทรงเคารพนับถือมาก

สร้างยังไม่สำเร็จ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างต่อจนเสร็จแล้วพระราชทานชื่อว่าวัดชิโนรสาราม
 

โปรดติดตามต่อในเล่ม....

 

 

รายละเอียด

กวีสยามคนสำคัญในอดีตล้วนปรากฏผลงานอย่างกว้างขวางในแวดวงวรรณกรรม งานกวีนิพนธ์ของแต่ละท่านต่างได้รับการยกย่องให้เป็นสุดยอดวรรณคดีชั้นครูของไทย แต่ก็มีอยู่เป็นส่วนมากที่ผลงานของท่านเป็นที่นิยมแพร่หลายกันทั้งๆ ที่ไม่ทราบผู้แต่ง บางท่านก็มีปรากฏเพียงน้อยนิดหรือคลุมเครือ ไม่เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนให้ทราบกันทั่วไป ส. พลายน้อย ได้ค้นคว้ารวบรวมประวัติและผลงานของกวีสำคัญเหล่านี้อย่างยาวนานจนเป็นหนังสือกวีสยามเล่มนี้ ที่สมบูรณ์ด้วยความเป็นมาของกวีสยามทั้งหมด 20 ท่าน นอกจากนี้ผู้เขียนยังได้สอดแทรกบางผลงานของกวีบางท่านเข้าไว้เพื่อให้ศึกษากันอีกด้วย จึงถือเป็นหนังสือที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เริ่มสนใจและศึกษาในทางวรรณคดีเป็นอย่างมาก


รีวิว (0)


สินค้าที่ใกล้เคียง (96 รายการ)

www.batorastore.com © 2024