สนธยาแห่งดาลัน (วัณณ์วิมล)

สนธยาแห่งดาลัน (วัณณ์วิมล)

0 รีวิว  0 รีวิว    
รหัสสินค้า: 9789742534684
ของหมด (ต้องการสินค้า)
ราคา: 250.00 บาท 62.50 บาท
ประหยัด: 187.50 บาท ( 75.00% )

เนื้อหาบางส่วน

ทางแรก

 

สายน้ำ ใน แม่น้ำ ทา ริน เพิ่ม ระดับ อย่าง รวดเร็ว และ ไหล เชี่ยว ใน ช่วง ฤดู

มรสุม เรือ ข้าม ฟาก ลำ เล็ก ยาว จึง ต้อง เดิน เครื่อง เต็ม กำลัง เพื่อ ฝ่า กระแสน้ำ

ตัด ตรง มายัง ฝั่ง ตรง ข้าม เวลา นั้น บ่าย คล้อย แล้ว อากาศ จึง ค่อย คลาย ความ

อบอ้าว ลง ดวง อาทิตย์ ลด ต่ำ สาด ลำ แสง ตกกระ ทบ คลื่น น้ำ เป็น ประกาย สี ทอง

สะท้อน เข้า ตา คน ที่ รอ อยู่ ที่ ท่าเรือ จน เขา ต้อง ใช้ มือ ป้อง เหนือ คิ้ว เมื่อ จับ จ้อง

เรือ ยนต์ ลำ เล็ก ที่ แล่น ข้าม ลำ น้ำ ตรง เข้า มา

กลาง ลำ เรือ คือ หญิง สาว ร่าง สูง โปร่ง ผิว ขาว เกลี้ยง เส้น ผม ดก ยาว เป็น

สี น้ำตาล ทอง สุก สว่าง แบบ ชาว ตะวัน ตก ถัก เป็น เปีย หนา ยาว ถึง กลาง หลัง เธอ

รอ จน เรือ เข้า จอด เทียบ ท่า แล้ว จึง ลุก ขึ้น ยืน แม้ จะ โอนเอน เพราะ เรือ โคลง ไป

มา อยู่ บ้าง แต่ เธอ ก็ พยายาม ทรง ตัว ก่อน จะ ก้าว ขึ้น จาก เรือ อย่าง กระฉับกระเฉง

แล้ว ตรง เข้า มา สวมกอด ชาย วัยกลางคน ร่าง เล็ก ที่ ยืน รอ อยู่ อย่าง ยินดี อีก ฝ่าย

รับ อาการ สวมกอด แบบ ฝรั่ง นั้น อย่าง ไม่ คุ้นเคย แต่ ความ รัก ใคร่ สนิทสนม

ระหว่าง ทั้ง สอง คง มี อยู่ มาก เขา จึง กอด ตอบ เธอ เพียง สั้นๆ แล้ว ถอย มา เอา มือ

ลูบ หลัง ลูบ ไหล่ หญิง สาว เหมือน ผู้ใหญ่ ทักทาย เด็ก

“สวย ขึ้น ทุก ปี เลย นะ แค ลร์ เก่ง แล้วด้วย จำ ได้ ว่า ตอนลุง มา รอ รับ หนู

ที่ นี่ เมื่อ ปี ก่อน น่ะ กว่า จะ ขึ้น จาก เรือ ได้ ก็ ทำ เรือ โคลง จน เกือบ ตก น้ำ”

ชาวบ้าน ที่ รอ เรือ ข้าม ฟาก อยู่ ที่ ท่า เดียวกัน สอง สาม คน พยักพเยิด ทักทาย

หญิง สาว เหมือน เคย เห็น หน้า เห็น ตา กัน มา ก่อน แต่ บาง คน ก็ ถึง กับ เหลียว มา

มอง อย่าง ประหลาด ใจ เมื่อ ได้ยิน เสียง คน ทั้ง สอง โต้ตอบ กัน เพราะ ผู้ มา ใหม่

มี ผม สี เหลือบ ประกาย ทอง ดวงตา โต สี อ่อน ผิว ขาว จัด เรือน ร่าง สูง โปร่ง

รูป หน้า ยาว และ จมูก โด่ง เรียว แบบ ชาว ตะวัน ตก แต่ กลับ พูด ภาษา พื้นเมือง

ดา ลัน ได้ เป็น ประโยค ยาวๆ ไม่ ชัดเจน นัก แต่ ก็ ห่างไกล จาก ฝรั่ง นัก ท่องเที่ยว

หญิง สาว หัน ไป ทัก เด็กหญิง วัย สิบ ขวบ ที่มา ด้วย กัน กับ ลุง ของ เธอ ทัก ขึ้น

“ยัง ไง วารี หัด อ่าน หนังสือ ทุก วัน หรือ เปล่า”

“อ่าน ค่ะ” เด็กหญิง ตอบ อย่าง อายๆ เกรงๆ แบบ เด็ก ชาวบ้าน ที่ ไม่ค่อย

เคย พบ เห็น หรือ พูดจา กับ คน แปลก หน้าต่าง ถิ่น บ่อย นัก แต่ ดวงตา ดำ ใส แจ๋ว

นั้น จ้อง เป๋ง มายัง หญิง รุ่น พี่ คน สวย ด้วย ความ ตื่นเต้น ยินดี อย่าง เห็น ได้ ชัด

“มา คราว นี้ พี่ มี เสื้อ ผ้า กับ หนังสือ ใหม่ มา ฝาก ด้วย นะ”

ชาย วัยกลางคน เอื้อม ไป รับ กระเป๋า เสื้อ ผ้าใบ เล็ก จาก คน ขับ เรือ ส่ง ต่อ

ให้ หลาน สาว ถือ ไว้ ตัว เขา หัน กลับ ไป ที่ เรือ อีก ครั้ง รับ ลัง กระดาษ ใบ ใหญ่ ห่อหุ้ม

ด้วย พลาสติก กัน น้ำ ผูก รัด ด้วย เชือก ฟาง ขึ้น มา หิ้ว เดิน นำ เธอ ไป ยัง รถ จี๊ปเก่าๆ

ที่ จอด อยู่ ตรง ทาง ลาด ลง ท่า น้ำ ย่ำ ไป ตาม ดิน โคลน สี แดง เพิ่ง แห้ง หมาดหลังจาก

ฝน ตก หนัก เมื่อ คืน ก่อน ส่วน หลาน สาวก้าว เดิน ตาม เขา มา อย่าง คุ้นเคย ไม่

แสดง ท่าทาง รำคาญใจ เมื่อ ต้อง เหยียบ ย่าง ไป บน ดิน แฉะๆ เหนียวๆ ที่ เกาะติด

รองเท้า จน เลอะเทอะ ไป หมด

“ของ ที่ ลุง ฝาก ซื้อ หนู หา มา ได้ เกือบ ครบ นะ คะ ได้ ยา ที่ จำเป็น มา หลาย

อย่าง ด้วย”

“เมื่อ อาทิตย์ ก่อน ทาง กาชาด เขา บริจาค วัคซีน ยา นมผง กับ อาหาร

เสริม สำหรับ เด็ก มา ลุง ก็ พยายาม ขอ ความ ช่วยเหลือ ไป ทุกแห่ง เท่า ที่ จะ ทำได้”

เขา วาง ลัง บน พื้น รถ เด็กหญิง ที่ ชื่อ วารี หิ้ว ลัง หน้าตา คล้ายๆ กัน อีก ใบ

เดิน ตาม มา จาก เรือ แล้ว วาง ลง ข้างๆ หญิง สาว ผู้ มา ใหม่ วาง กระเป๋า เสื้อ ผ้าใบ เล็ก

ของ เธอ ลง บน เบาะ หลัง แล้ว โหน ตัว ขึ้น ไป นั่ง ข้าง คน ขับ เตรียมตัว ออก เดินทาง

แต่ ขณะ ที่ ลุง ของ เธอ กำลัง จะ ขึ้น นั่ง ประจำ ที่ คน ขับ มอเตอร์ ไซค์ เก่า

โทรม คัน หนึ่ง ก็ แล่น ตรง มา คน ขี่ ซึ่ง เป็น เด็ก วัยรุ่น ชะลอ รถ เมื่อ เห็น รถ จี๊ป เขา

ตะโกน เรียก เสียง ดัง

“หมอ ภูคร้าบ”

แล้ว เด็ก หนุ่ม ก็ ขี่ รถ เข้า มา จอด รถ พรืด ข้างๆ แจ้ง ข่าว ด้วย น้ำเสียง กระหืด

กระหอบ “มี เรื่อง ชก ต่อย กัน ที่ ร้าน เหล้า ใน ตลาด มี คน บาดเจ็บ สอง คน คน

หนึ่ง โดน แทง ด้วย ไอ้ คน ก่อ เรื่อง หนี ไป หมด แล้ว”

“ตาย หรือ เปล่า” ใคร คน หนึ่ง แถว นั้น ตะโกน ถาม ขึ้น ทันที

“ไม่ ตาย” เขา รีบ ตอบ “กำลัง พา ส่ง โรง พยาบาล แต่ มี คน บอก ว่า หมอ

ไม่ อยู่ สั่ง ให้ ผม ขี่ รถ มา ตาม หา หมอ”

ชาย วัยกลางคน ที่ เด็ก หนุ่ม เรียก ว่า ‘หมอ ภู’ หัน มา มอง หน้า หลาน สาว

“แค ลร์ เพิ่ง มา ถึง ก็ เจอ เรื่อง ร้าย เลย ลุง ต้อง รีบ กลับ แล้ว”

หญิง สาว พยัก หน้า ลุง ของ เธอ จึง ออก รถ ขับ ไป ตาม เส้นทาง ลูกรัง เป็น

หลุม เป็น บ่อ ที่ มี น้ำ ขัง และ ยัง เฉอะแฉะ ด้วย น้ำ ฝน ดังนั้น แม้ อยาก จะ รีบ เร่ง รถ

ก็ เคลื่อน ไป ได้ อย่าง ช้าๆ แล่น ออก จาก ท่าเรือ มุ่ง หน้า ขึ้น ไป ทาง เหนือ เลียบ แม่น้ำ

ทา ริน เมื่อ ถนน ไป สิ้นสุด ที่ ปากน้ำ ตรง ที่ ธาร น้ำ สาย เล็ก ไหล มา บรรจบ กับ แม่น้ำ

คน ขับ ก็ เลี้ยว ขวา เลียบ ธาร น้ำ นั้น ต่อ ไป อีก ครู่ หนึ่ง จึง ถึง หน้า โรง พยาบาล แห่ง

เดียว ของ เมือง พิน นา

เสียง ตะโกน เอะอะ ได้ยิน มา แต่ ไกล รถ กระบะ ขน ของ สารพัด ประโยชน์

ของ ชาวบ้าน เพิ่ง มา ถึง ก่อน หน้า นี้ เพียง ครู่ เดียว คน ขับ รถ และ เจ้าหน้าที่ ช่วย

กัน หาม คน เจ็บ อาการ สาหัส ไป ยัง ห้อง ฉุกเฉิน แล้ว หมอ ภู จึง จอด รถ พรืด ดับ

เครื่อง แล้ว รีบ ตาม เข้าไป ทันที

แค ลร์ ลง จาก รถ ทีหลัง เธอ หัน ไป เห็น ร่าง ของ ชาย วัยหนุ่ม อีก คน หนึ่ง

ที่นอน แน่ นิ่ง อยู่ บน กระบะ ผุๆ หลัง รถ ร่างกาย ของ เขา เปรอะ ไป ด้วย เลือด ยัง

ไม่ ได้ รับ การ ช่วยเหลือ

“เขา เป็น อะไร มาก หรือ เปล่า พี่ แค ลร์”

วารี ที่ ยืน อยู่ ข้างๆ ตัว เธอ กระซิบ ถาม แต่ ก็ ไม่ ได้ แสดง ท่าทาง ตื่น กลัว

เธอ คุ้นเคย ชา ชิน กับ ความ ยาก ลำบาก การ เจ็บไข้ ได้ ป่วย ของ คนใน พื้นที่ แค ลร์

ได้ แต่ ส่าย หน้า ตอบ ด้วย เสียง กระซิบ

“ไม่ รู้ สิ ต้อง รอ ลุง หมอ”

หมอ ภู ยัง อยู่ ใน ห้อง ฉุกเฉิน และ คง จะ อยู่ ใน นั้น ต่อ ไป อีก สัก พัก หญิง สาว

เหลียว มอง ไป รอบตัว ใน โรง พยาบาล มี หมอ เพียง คน เดียว และ มี พยาบาล

ชาว พื้นเมือง สาม สี่ คน ที่ เขา ฝึก ขึ้น มา เพื่อ ช่วย งาน แต่ ตอน นั้น เป็น เวลา เย็น แล้ว

พยาบาล ที่ ไม่ ได้ อยู่เวร จึง กลับ กัน ไป หมด ไม่ มี ใคร อยู่ ตรง นั้น เลย นอกจาก เธอ

และ วารี

แค ลร์ จึง เดิน เข้าไป ใกล้ พอ เห็น เขา ยัง รู้ตัว เธอ ก็ บอก เป็น ภาษา ดา ลัน

ว่า “หมอ ยัง มา ไม่ ได้ เธอ ต้อง ไป รอ ที่ ห้อง ตรวจ จะ ได้ ทำ ความ สะอาด แผล

ก่อน”

ลงท้าย ด้วย คำ ถาม ว่า “ลุก ไหว ไหม”

เขา พยัก หน้า ทั้งๆ ยัง หลับตา พยายาม ยัน ตัว ลุก ขึ้น แล้ว ทำ ตาม ที่ เธอ

สั่ง โดย ไม่ รอ ความ ช่วยเหลือ แต่ ท่า เดิน บอก ให้ รู้ ว่า เขา ได้ รับ บาดเจ็บ ไม่ น้อย

พอ ถึง เตียง เขา ก็ ล้ม ตัว ลง นอน ตะแคง แล้ว นิ่ง อยู่ อย่าง นั้น ไม่ มีเสียง บ่น หรือ

คราง ให้ ได้ยิน

แค ลร์ ไม่ ใช่ พยาบาล เคย แต่ ทำ หน้าที่ ช่วย หมอดู แล คน เจ็บไข้ ได้ ป่วย

จัด คิว รอ ตรวจ และ แจกจ่าย ยา เธอ คุ้นเคย โรค ภัย ไข้ เจ็บ พื้นๆ และ โรค ติดต่อ

อย่าง เช่น ไข้เลือดออก มาลาเรีย โรค ทาง เดิน อาหาร หรือ วัณโรค ซึ่ง เป็น

เรื่อง ปกติ ของ ผู้คน ใน แผ่นดิน ดา ลัน พื้นที่ ใน เขต ร้อน ชื้น ที่ ทุรกันดาร ห่างไกล

ความ เจริญ นี่ เป็น ครั้ง แรก ที่ เธอ จะ ต้อง ช่วย ดูแล คน เจ็บ จาก บาดแผล ฉกรรจ์

ร่างกาย ของ เขา ถูก กระแทก ด้วย ของแข็ง อย่าง แรง หลาย แห่ง ใบหน้า ด้าน ซ้าย

และ ริม ฝีปาก เต็ม ไป ด้วย เลือด มี แผล แตก ที่ เหนือ คิ้ว โชค ดี ที่ ดวงตา ไม่ ได้ รับ

อันตราย ไป ด้วย บริเวณ หัวไหล่ มี เลือด ซึม ออก มา เป็น วง กว้าง น่า จะ มี บาดแผลลึก

บาดแผล ใหญ่ น้อย ที่ เห็น อยู่ เต็มตา อย่าง นี้ ทำเอา เธอ ถึง กับ เข่า อ่อน

แต่ หญิง สาว ก็ พยายาม ข่ม ใจ บอก ตัวเอง ว่า เธอ เป็น คน เดียว ที่ พอ จะ

ช่วยเหลือ เขา ได้ ใน เวลา นั้น เธอ ล้างมือ พยายาม บังคับ มือ ไม่ ให้ สั่น เมื่อ สวม

ถุง มือ เพื่อ เตรียมพร้อม ดูแล คน เจ็บ เธอ รีบ ลงมือ ห้ามเลือด แล้ว ใช้ น้ำ สะอาด

ล้าง ทำ ความ สะอาด แผล จาก เศษ ดิน ทราย เพื่อ รอ ให้ หมอ มา ตกแต่ง บาดแผล

แต่ มือ ของ เธอ ก็ ยัง เย็น เฉียบ ด้วย ความ ตื่นเต้น ความ กังวล ไม่ แน่ใจ ของ เธอ คง

รู้สึก ได้ ผ่าน สัมผัส นั้น จน คน เจ็บ ที่นอน นิ่ง อยู่ แต่ แรก ต้อง เหลือบ ตา ขึ้น มอง

ใน ท่ามกลาง ความ อิดโรย และ เจ็บปวด เธอ เห็น ดวงตา ที่ มอง มา มี รอย

พิศวง เธอ ยัง มอง เห็น คิ้ว เข้ม หนา และ ขน ตา ดำ ยาว สะดุดตา บน ซีก หน้าที่ ไม่ ได้

รับ บาดเจ็บ

“เจ็บ ไหม” เธอ ถาม เสียง เข้ม พยายาม เรียก ความ มั่นใจ คืน มา

เขา ส่าย หัว น่า จะ แปล ว่า เขา ไม่ อยาก ตอบ ไม่ ใช่ แปล ว่า ไม่ เจ็บ แล้ว

เขา ก็ หัน หน้า กลับ ไป อย่าง เดิม หลับตา และ อดทน รอ จน เกือบ ครึ่ง ชั่วโมงต่อ

มาหมอ จึง ออก มา จาก ห้อง ฉุกเฉิน ตรง เข้า มา ตรวจ ดู บาดแผล อย่าง ละเอียด

แล้ว เขา ก็ ก้ม ลง บอก คน เจ็บ ว่า

“แผล แตก ที่ เหนือ คิ้ว ลึก มาก ที่ ไหล่ ด้วย ต้อง เย็บ ห้ามเลือด เจ็บ

หน่อย นะ”

โรง พยาบาล พิน นา เป็น เพียง หน่วย แพทย์ เล็กๆ ที่ ได้ รับ งบประมาณ จาก

การ บริจาค การ กุศล เน้น การ รักษา โรค ติดต่อ และ โรค ภัย ไข้ เจ็บ ให้ กับ ชาวบ้าน

ยา และ เวชภัณฑ์ ใน ห้อง ผ่า ตัด จึง มี เท่า ที่ จำเป็น หลักๆ คือ ยา ฆ่า เชื้อ และ ยา ปฏิ-

ชีวนะ ส่วน ยา ชา และ ยาสลบ นั้น ไม่ ต้อง พูด ถึง หาก อาการ ไม่ หนัก จริงๆ ขนาด

ต้อง ตัด แขน ตัด ขา หรือ ผ่า คลอด ฉุกเฉิน ก็ จะ ไม่ มี การ ใช้ ให้ สิ้น เปลือง

พยาบาล ตัว จริง ยัง ติด ภารกิจ ดูแล คน เจ็บ อาการ สาหัส อีก คน หนึ่ง อยู่ ใน

ห้อง ฉุกเฉิน หมอ ภู เลย เรียก ให้ แค ลร์ มา เป็น ลูกมือ แทน คอย ส่ง เข็ม และ ไหม

เย็บ ที่ ฆ่า เชื้อ แล้ว ให้ หมอ เย็บ แผล และ ช่วย ทำ แผล ตาม ใบหน้า และ ร่างกาย

ของ เขา เธอ รู้สึก ว่า เวลา ผ่าน ไป นาน มาก กว่า จะ ได้ยิน เสียง พูด ขึ้น ว่า

“เสร็จ แล้ว เดี๋ยว จะ ฉีดยา กัน บาดทะยัก ให้”

แค ลร์ ถอน ใจ โล่ง อก เมื่อ เสร็จ งาน ของ เธอ เช่น กัน คน เจ็บ เหลือบ มอง ดู

หมอ และ ดู เธอ อีก ครั้ง ไม่ ลืม กล่าว ขอบคุณ เบาๆ

เขา ถูก นำ ตัว ไป พักฟื้น ต่อ ใน ห้อง พัก ครู่ เดียว หลังจาก นั้น ก็ หลับ สนิท

เป็น ตาย

* * *

ตัว ตึก และ อาณาเขต ของ โรง พยาบาล พิน นา แห่ง นี้ เดิม เป็น บ้านพัก ของ

ชาว ตะวัน ตก สร้าง ไว้ ตั้งแต่ สมัย ดา ลัน ยัง เป็น อาณานิคม จน เมื่อ ดา ลัน ได้ รับ

เอกราช เจ้าของ บ้าน ก็ เดินทาง กลับ ประเทศ ทิ้ง ร้าง สถานที่ แห่ง นี้ ไป หลาย ปี

ต่อ มา ตัว ตึก ได้ รับ การ ดัดแปลง เป็นกอง บัญชาการ ทหาร ใน ช่วง สงคราม แย่ง ชิง

ดา ลัน จน สงคราม ยุติ ไป สอง สาม ปี จึง ปรับ เปลี่ยน อีก ครั้ง เป็น โรง พยาบาล ขนาด

เล็ก นาย แพทย์ ภู วัน เป็น หมอ คน เดียว ของ ที่ นี่ เขา เป็น ชาว ดา ลัน ซึ่ง เพิ่ง เรียน

จบ วิทยาลัย แพทย์ มา จาก วสุ ธา ประเทศ เพื่อนบ้าน ทำ งาน ตั้งแต่ ยัง หนุ่ม ต่อ

เนื่อง มา จน ปัจจุบัน นาน กว่า สาม สิบ ปี แล้ว โรง พยาบาล เล็กๆ ของ เขา เป็นที่

พึ่ง พิง หลัก ของ ชาวบ้าน ใน เมือง พิน นา ไป จน ตลอด หมู่ บ้าน เล็กๆ ริม ฝั่ง แม่น้ำ

ทา ริน และ ยัง เป็น สถาน พยาบาล แผน ปัจจุบัน แห่ง เดียว ของ ชาวบ้าน ที่ อยู่

ห่างไกล ออก ไป ที่ การ สาธารณสุข เข้า ไม่ ถึง

ตึก หลัก ของ โรง พยาบาล ตั้ง อยู่ ริม ธาร น้ำ ใส เป็น อาคาร สอง ชั้น ก่อ อิฐ

ถือ ปูน ทาสี เหลือง เรียก กัน อย่าง ลำลอง ว่า ตึก เหลือง ผ่าน ฝน ฟ้า และ แดด ลม

ใน ประเทศ เขต ร้อน ชื้น มาก ว่า ค่อน ศตวรรษ และ มี ร่องรอย ของ การ ดัดแปลง

และ ซ่อมแซม มา หลาย ครั้ง เจ้าของ บ้าน เดิม คง จะ เลือก ปลูก บ้านพัก บริเวณ นี้

เพราะ มี ทิวทัศน์ อัน งดงาม และ ยัง ได้ ใช้ ประโยชน์ จาก ลำธาร ที่ มี น้ำ ไหล ริน ตลอด

ทั้ง ปี ลำธาร สาย เล็ก หน้า ตึก ไหล ไป บรรจบ กับ แม่น้ำ ทา ริน ซึ่ง เป็น แม่น้ำ สาย

สำคัญ ทาง ตะวัน ตก ของ ประเทศ และ เป็น เส้น พรมแดน กั้น ระหว่าง ดา ลัน และ

ศาศวัต

หมอ ภู วัน สร้าง บ้าน ชั้น เดียว อยู่ ด้าน ใน ของ โรง พยาบาล เป็น ส่วน พัก

อาศัย แยก ออก มา จาก พื้นที่ บริการ ส่วนหน้า มีเรือน พัก อีก สอง สาม หลัง สำหรับ

เจ้าหน้าที่ อาสา สมัคร ที่ ไม่ ใช่ คน พื้นเมือง เวลา นั้น ค่ำ แล้วแต่ ไม่ มี แสงสว่าง ลอด

ออก มา จาก เรือน เหล่า นั้น แม้แต่ หลัง เดียว

แค ลร์ มอง ดู เรือน มืดๆ แล้ว หัน มา ถาม ลุง ของ เธอ ว่า “เมื่อ ไร เว รา รี่ จะกลับ

มา คะ”

“เขา จะ มา ถึง ศาศวัต บ่าย วัน พรุ่งนี้ กว่า จะ ต่อ มา ถึงที่ นี่ ก็ วัน มะรืน”

เว รา รี่ เป็น แพทย์ ชาวอเมริกัน สาว ใหญ่ วัย ห้า สิบ เธอ มา จาก ครอบครัว

มิชชันนารี ที่ ติดตาม ครอบครัว ไป ทำ งาน สา ธาร ณ กุศล ใน พื้นที่ ห่างไกล บ้าน มา

ตั้งแต่ ยัง เด็ก การ เดินทาง ไป ยัง ดินแดน ที่ ลำบาก ขาดแคลน เพื่อ ช่วยเหลือ

คน อื่น จึง อยู่ ใน สายเลือด ของ เธอ จน หลาย ปี ก่อน เมื่อ เว รา รี่ มา ถึง ดา ลัน เธอ ก็

ลง หลัก ปัก ฐาน ช่วย หมอ ภู ทำ งาน ใน โรง พยาบาล ที่ เมือง พิน นา อย่าง ต่อ เนื่อง

โดย ไม่ ย้าย ไป ไหน อีก นอกจาก จะ กลับ บ้าน ไป เยี่ยม พ่อ แม่ พี่น้อง ช่วง สั้นๆ ปี

ละ ครั้ง หมอ เล่า ด้วย ว่า

“เว รา รี่ ไป เดินสาย ขอ ความ ช่วยเหลือ จาก โรง พยาบาล ที่ โน่น ได้ ทีม หมอ

อาสา มา ช่วย ทำ งาน วาง แผน ว่า จะ ไป ออก หน่วย แพทย์ เคลื่อนที่ ทาง ภาค ใต้

คง อยู่ กัน สัก สิบ วัน”

“หนู ตาม ไป ช่วย เว รา รี่ ได้ ไหม คะ” แค ลร์ กระตือรือร้น “เป็น ล่าม ให้ หรือ

จะ ให้ ไป ช่วย เตรียม เครื่องมือ จัด ยา จัด คิว ตรวจ ก็ได้”

แต่ พอ นึกถึง เหตุการณ์ ใน ห้อง ฉุกเฉิน เมื่อ ตอน เย็น เธอ ก็ หน้าเสีย ออก

ตัว ว่า “แต่ ถ้า เจอ เคส อย่าง วัน นี้ หนู ก็ ไม่ รู้ จะ ช่วย งาน ได้ แค่ ไหน นะ คะ”

“วัน นี้ หนู ช่วย ลุง ได้ มาก นะ แค ลร์”

ลุง ของ เธอ ให้ กำลังใจ ส่วน หลาน สาว ยิ้มแหย

“หนู เคย แต่ แจก ยา แจก อาหาร วัด ไข้ เช็ด ตัว เด็ก ไม่ เคย เป็น ผู้ ช่วย

ห้อง ผ่า ตัด มา ก่อน พอ เห็น แผล เห็น เลือด หนู แทบ จะ เป็นลม”

“ชาวบ้าน ไม่ มี ใคร ถ้า เรา ไม่ อยู่ ช่วย เขา ก็ จะ ลำบาก” หมอ ภู บอก

หลาน ปลอบ ใจ ว่า “แค ลร์ อยาก จะ ไป กับ เว รา รี่ ก็ ไป เถอะ หนู น่า จะ ช่วย งาน

ได้ หลาย อย่าง ที่ นั่น เว รา รี่ ชอบ ทำ งาน อาสา สมัคร ไม่ ชอบ ทำ งาน ประจำ โรง

พยาบาล ใน เมือง เขา บ่น ว่า เบื่อ เวลา ต้อง รักษา แผล มีด บาด เป็น ผื่น คัน ปวด

หัว ตัวร้อน เป็น ไข้”

หมอ ภู เล่า ขำๆ “เขา บอก ว่า รู้สึก ตัวเอง เป็น ประโยชน์ มาก กว่า ถ้า ได้ ช่วย

เหลือ คน ที่ ลำบาก ขาดแคลน จริงๆ เลย มา อยู่ ที่ นี่ ไม่ ยอม กลับ บ้าน ลุง เอง ก็

เหมือน กัน คง ไป อยู่ ที่ อื่น ไม่ ได้ แล้ว”

“ถ้า เรียน จบ แล้ว หนู อาจจะ มา ช่วย ลุง ทำ งาน ที่ นี่ ด้วย”

แต่ ลุง ของ เธอ หัน มา มอง ตา หลาน สาว พูด ขึ้น เรียบๆ เหมือน สั่ง

“ถ้า จะ มา ทำ ชั่วคราว สัก ปี สอง ปี ก็ได้ แต่ ลุง ว่า ถ้า จะ ลง หลัก ปัก ฐาน ทำ

อาชีพ หนู อยู่ ที่ โน่น น่า จะ ดี กว่า” เขา หมาย ถึง ประเทศ ที่ เธอ อยู่ ใน ยุโรป “ที่ นี่

มัน ลำบาก ไม่ มี อนาคต สำหรับ คน หนุ่ม คน สาว”

แค ลร์ เดินทาง มา ที่ ดา ลัน เป็น ครั้ง แรก เมื่อ เธอ เรียน จบ ไฮส กู ล เป็น ช่วง

ที่ เด็ก นักเรียน ใน โลก ตะวัน ตก บรรลุ นิติภาวะ ออก จาก บ้าน ของ พ่อ แม่ มา ใช้

ชีวิต อยู่ ด้วย ตัวเอง ส่วน ใหญ่ เข้า มหาวิทยาลัย บาง คน ทำ งาน เลย โดย ไม่ เรียน-

 

                (โปรดติดตามต่อในฉบับเต็ม)


รีวิว (0)


สินค้าที่ใกล้เคียง (96 รายการ)

www.batorastore.com © 2024