เขียนบทความอย่างไรให้น่าอ่าน

1 รีวิว  1 รีวิว    
รหัสสินค้า: 9789748463698
ของหมด (ต้องการสินค้า)
ราคา: 95.00 บาท

รีวิว (1)

เขียนรีวิว

ปุณิกา | 1 รีวิว
22/07/2014

“ นักเขียนพูดดังกว่านักพูดและพูดได้นานกว่า “ คำกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการเขียนที่ผู้เขียนสามารถถ่ายทอดข้อมูลความรู้ ความคิด และอารมณ์ความรู้สึกของตนลงไปในหน้ากระดาษ โดยที่แม้เขาจะตายไปแล้ว สิ่งที่เขาเขียนก็ยังคงอยู่ เป็นการทำลายข้อจำกัดต่างๆ ของความทรงจำ เชื่อว่าหลายคนที่อยากเป็นนักเขียน มีเรื่องราวมากมายอยู่ในหัว และอยากถ่ายทอดออกมาให้คนอื่นได้อ่าน แต่ติดปัญหาตรงที่ ไม่รู้จะเริ่มต้นเขียนอย่างไร โดยเฉพาะเรื่องยากๆ หรือเรื่องทางวิชาการ หรือบางคนอาจจะกลัวว่าเมื่อเขียนไปแล้วจะน่าสนใจมั้ย ผู้อ่านจะอ่านรู้เรื่องมั้ย เกิดปัญหาในด้านเทคนิคการเขียนต่างๆ หนังสือเล่มนี้แนะนำแนวทางปฏิบัติในการเขียนบทความอย่างเป็นขั้นเป็นตอน มีรูปแบบการนำเสนอที่ดี มีตัวอย่างชัดเจน เข้าใจง่าย เป็นคู่มือชั้นดีสำหรับมือใหม่ที่ต้องการจะเริ่มต้นเขียนบทความทางวิชาการ รวมถึงผู้ที่มีประสบการณ์ในการเขียนมาบ้างแล้ว ก็สามารถอ่านได้ ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสังคมไทยกับสังคมตะวันตกไว้อย่างน่าสนใจ โดยกล่าวว่า ”สังคมตะวันตกเป็นสังคมที่มีความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ ก็เพราะเขามีวัฒนธรรมการเขียนและการอ่านที่เข้มแข็ง จะเห็นได้จากการที่มีการตีพิมพ์วารสาร บทความ และหนังสือทางวิชาการจำนวนมาก และมีการต่อยอดจากองค์ความรู้เดิมอยู่เรื่อยๆ ผ่านงานเขียนในรูปแบบต่างๆ เมื่อเปรียบเทียบกับสังคมไทยจะเห็นว่า เรามีแต่วัฒนธรรมการฟังและการพูด แต่ยังขาดวัฒนธรรมการเขียนและการอ่าน ไม่มีการจดบันทึกองค์ความรู้ นอกจากนี้เรายังมีวัฒนธรรมหวงวิชา คนเก่งมักจะเก็บวิชานั้นไว้ไม่ถ่ายทอด หรือหากถ่ายทอดก็เป็นแบบปากต่อปาก จากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งเท่านั้น แม้แต่ในยุคปัจจุบันบรรดาครูบาอาจารย์ คนที่น่าจะเป็นนักคิดในสังคม กลับไม่ได้มีงานเขียนที่เป็นการเผยแพร่แก่ประชาชน มีแต่งานเขียนงานวิจัยที่เป็นไปเพื่อการเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการของตนเท่านั้น การที่สังคมไทยมีลักษณะเช่นนี้จะทำให้เรากลายเป็นสังคมตีบตันทางสติปัญญา” เนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วย 1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับบทความ : สอนว่าบทความคืออะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง ลักษณะของบทความที่ดีเป็นอย่างไร 2. ทำลายกำแพงสามชั้น เขียนบทความอย่างไรให้น่าอ่าน : ชั้นที่หนึ่ง ต้องคิดเป็น ซึ่งอาจหมายถึงมีความคิดในเชิงเนื้อหาที่คมชัด ชั้นที่สอง ต้องเขียนเป็น การเขียนเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ต้องอาศัยการฝึกฝน ชั้นที่สาม ต้องมีคนอ่าน แปลว่าเราจะต้องรู้จักว่าผู้อ่านงานของเราเป็นใคร คือรู้กลุ่มเป้าหมาย 3. เตรียมความพร้อมก่อนลงมือเขียน ได้แก่ การเลือกหัวข้อเรื่องและการวางโครงเรื่อง 4. ได้เวลาลงมือเขียน ได้แก่ การเขียนเกริ่นนำด้วยวิธีการต่างๆ การเขียนเนื้อเรื่อง เช่น การเลือกใช้คำ การวางย่อหน้า ความมีเอกภาพของเรื่อง การลำดับเนื้อหาตามโครงเรื่อง การใช้ภาษา การเขียนบทสรุป การขัดเกลาบทความ 5. ข้อคิดทิ้งท้ายเพื่อผู้ที่อยากเป็นนักเขียน นักเขียนมีดีที่ใจ ความคิด และลักษณะชีวิต ผู้เขียนบอกว่า หนังสือเล่มนี้เป็นคู่มือชั้นดีสำหรับมือใหม่ที่ต้องการจะเริ่มต้นเขียนบทความทางวิชาการ รวมถึงผู้ที่มีประสบการณ์ในการเขียนมาบ้างแล้ว ก็สามารถอ่านได้ แต่จริงๆแล้วคิดว่าเป็นประโยชน์สำหรับผู้เริ่มต้นมากกว่า เพราะอธิบายได้ละเอียด เข้าใจง่ายดี เป็นการสอนเทคนิคง่ายๆ เสียอย่างเดียวตรงที่มีตัวอย่างน้อยเกินไป อยากให้มีตัวอย่างบทความที่หลากหลายมากกว่านี้ จริงๆแล้วการเขียนบทความที่ดีย่อมขึ้นอยู่กับประสบการณ์มากกว่า ซึ่งหมายถึงทั้งประสบการณ์ทางความรู้วิชาการที่จะเขียน และประสบการณ์ในการเขียนจริง ซึ่งแน่นอนว่าหนังสือเล่มนี้คงให้ประสบการณ์แบบนั้นไม่ได้ ขอให้คะแนน 7 เต็ม 10

สินค้าที่ใกล้เคียง (92 รายการ)

www.batorastore.com © 2024