ว่ายทวนน้ำ ฝ่ากระแสทุนด้วยกระแสธรรม

1 รีวิว  1 รีวิว    
รหัสสินค้า: 9789740200796
ของหมด (ต้องการสินค้า)
ราคา: 145.00 บาท

รีวิว (1)

เขียนรีวิว

นิสา | 1 รีวิว
24/08/2014

ท่ามกลางกระแสทุนนิยม ที่เน้นการบริโภคและการกอบโกยเอาผลประโยชน์เข้าตัวหรือเข้าองค์กรมากๆ กระแสในเรื่องความพอเพียงก็เริ่มเกิดขึ้นมาในสังคมไทย และนับวันจะเริ่มก่อตัวสร้างความเข้มแข็งให้กับตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ก็คงด้วยเหตุที่ความพอเพียงนั้นโดยตัวของมันเองก็มีคุณสมบัติที่ดีอยู่แล้วสำหรับคนที่ปฏิบัติได้ ความพอเพียงยังสามารถแพร่ขยายความสุขไปยังสังคมรอบข้างได้ง่ายด้วย หมายความว่าลักษณะของสังคมที่มีความพอเพียงนั้น ผู้คนที่อยู่ร่วมกันในสังคมจะอยู่ด้วยกันด้วยความช่วยเหลือเกื้อกูลมากกว่าที่จะแก่งแย่งแข่งขันเอารัดเอาเปรียบกัน อย่างที่เป็นอยู่ในสังคมบริโภคนิยมในปัจจุบันนี้ โดยลักษณะของความพอเพียงดังกล่าว ทำให้เราเห็นได้ว่าความพอเพียงนั้นมีความสอดคล้องต้องกัน หรือมีความใกล้ชิดอย่างมากกับหลักการในทางพระพุทธศาสนา ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของหนังสือว่ายทวนน้ำ ฝ่ากระแสทุน ด้วยกระแสธรรม เล่มนี้ ซึ่งหลักใหญ่ใจความก็คือการอธิบายการมีวิถีชีวิตแบบพอเพียงซึ่งประกอบด้วยธรรมท่ามกลางกระแสแห่งการบริโภค โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการแสงหาความสุขที่ยั่งยืน เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนสำคัญคือส่วนของพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล และส่วนของพระอาจารย์ ว.วชิรเมธี ในส่วนของพระอาจารย์ไพศาลนั้น เนื้อหาที่น่าสนใจคือเรื่องพอเพียงแค่ไหนถึงจะพอ พระอาจารย์อธิบายว่า พุทธศาสนานั้นไม่ได้สอนให้เราปฏิเสธความสบาย ในทางตรงกันข้าม ยังมีหลักธรรมเรื่องสัปปายการี ที่สอนให้เราทำในสิ่งสบาย หรือการทำตนให้สบาย นั่นหมายความว่าความพอเพียงไม่ได้แปลว่าต้องอยู่อย่างจำกัดจำขี่ อย่างอดๆอยากๆ แต่ความสบายแบบพุทธศาสนานั้นแม้จะเป็นความสบายทางกายหรือความสุขทางกายแต่ก็ต้องเป็นไปในทางที่จะเกื้อกูลความสบายหรือความสุขทางสติปัญญาด้วย ความแตกต่างระหว่างความสุขหรือความสบายของพุทธศาสนากับลัทธิบริโภคนิยมนั้นก็คือ บริโภคนิยมถือว่าความสบายเป็นเป้าหมายในตัวมันเอง ยิ่งสบายเท่าไหร่ก็ยิ่งดีเท่านั้น และจะไม่หยุดดิ้นรนแสวงหาสิ่งอื่นที่สบายกว่า แต่พุทธศาสนาบอกว่าเราไม่ควรหยุดแค่ความสบายทางกาย เราควรไปให้ถึงความสุขทางจิตใจและสติปัญญาด้วย นั่นแปลว่าในทางพุทธกำลังสอนเราว่าให้เรารู้จักพอกับความสบายทางกายนั่นเอง ลดความสุขความสบายที่เกิดจากการมีทรัพย์มากลง อย่ายึดติดกับหลักคิดที่ว่ายิ่งมีทรัพย์มากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีความสุขมากเท่านั้น ในส่วนเนื้อหาของพระอาจารย์ ว.นั้นที่คิดว่าน่าสนใจก็คือเรื่องวิธีการกำจัดกิเลสตัณหา โดยยึดหลักว่ารู้จักพอ รู้จักพัฒน์ และรู้จักภาวนา รู้จักพอก็มีความหมายดังที่ได้กล่าวมาแล้วในส่วนของพระอาจารย์ไพศาล รู้จักพัฒน์ก็หมายความว่ารู้จักพัฒนาความอยากของตนเองให้มีรสนิยมสูงขึ้นจากความอยากทางวัตถุไปสู่ความอยากในเชิงที่สร้างสรรค์ดีงาม ส่วนรู้จักภาวนานั้นก็หมายความว่าการฝึกใจให้ก้าวข้ามความอยากทุกรูปแบบและใช้ชีวิตโดยปราศจากกิเลศใดๆมาครอบงำ

สินค้าที่ใกล้เคียง (96 รายการ)

www.batorastore.com © 2024