เจ้านาง

เจ้านาง

1 รีวิว  1 รีวิว    
รหัสสินค้า: 9786165001014
ผู้แต่ง: ณารา
ของหมดถาวร (ต้องการสินค้า)
ราคา: 230.00 บาท 57.50 บาท
ประหยัด: 172.50 บาท ( 75.00% )

เนื้อหาบางส่วน

โคมลอยจำนวนนับพันดวงถูกปล่อยขึ้นฟ้าในคืนพระจันทร์วันเพ็ญ

เดือนสิบเอ็ดดวงแล้วดวงเล่า มันค่อยๆ ลอยสูงเหนืออุโบสถไม้ศิลปะแบบ

ไทยใหญ่ที่มีหลังคาซ้อนลดหลั่นกันหลายชั้น แสงไฟวอมแวมล่องให้เห็น

เชิงชายไม้แกะสลักที่ทาด้วยสีทองอร่าม ดูงามจับตายิ่งขึ้นไปอีก คืนนี้อุโบสถ

ไม้ถูกใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญทางศาสนา พระสงฆ์ออกสอนธรรม

แก่พุทธคาสนิกชนผู้เปี่ยมด้วยศรัทธา

เกตุแก้วยืนถ่ายรูปโคมลอยที่มีดวงไฟลุกโชนอยู่ภายในอย่างไม่รู้สึก

เบื่อหน่าย เสียงพระเทศน์จากอุโบสถคละเคล้าไปกับเสียงกลองและฆ้องเป็น จังหวะด้งเช้ามาในโสตประสาท เมื่อบนเวทีกลางวัดบัดนี้มี ‘โต’ สัตว์ในตำนาน ตามความเชื่อชองไทยใหญ่ ที่มีหัวเป็นมังกรและร่างกายเหมือนสิงโตกำลังแสดงอยู่

หัวชองสัตว์ในจินตนาการนี้ทำด้วยกระดาษเงินกระดาษทองหลากสี สะท้อนแสงไฟวาววับ ตัวทำด้วยเชือกฟางสีชาวสลับสีชมพู บัดนี้ขะมุกชะมอม เพราะกลิ้งไปบนพื้นถนนมาหลายรอบกว่าจะถึงเวที ซํ้ายังคงใช้งานมาหลายปี

 

ดีดักแล้ว ชาวบ้านก็ตกแต่งขนเพิ่มเข้าไปให้ดูดกหนาขึ้นสีจึงไม่ค่อยจะเข้ากัน

บางแห่งที่เธอเคยเห็นนั้นลำตัวทำด้วยผ้าสีสด หากก็สื่อถึงสัตว์ตัวเดียวกัน

“เขาเรียกว่าก้าโต” อภิญญา เพื่อนสาวที่ยืนกินขนมกังแตกอยู่ข้างตัวเอ่ยขึ้น

“จำได้ แกบอกฉันมาเป็นสิบหนแล้วมั้ง” เกตุแก้วตอบ การแสดงนี้เป็น วัฒนธรรมแบบไทยใหญ่ขนานแท้ และสืบทอดกันต่อๆ มาเป็นเวลาหลาย

ร้อยปี ภาษาไทยใหญ่เรียกประเพณีนี้ว่า ปอยเหสินสิบเอ็ด หรือปอยออกหว่า

เป็นงานสำคัญหลังออกพรรษา ซึ่งจัดขึ้นทุกเมืองที่มีชุมชนชาวไทยใหญ่อาศัย

อยู่ เช่น จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่มีชื่อเสียงมาก และเช่นเดียวกับอำเภอฝาง

จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีประเพณีนี้สืบทอดกันมาช้านาน ด้วยมีชาวไทยใหญ่

โยกย้ายถิ่นฐานบ้านเรือนมาอาศัยอยู่ที่นี่มาเนิ่นนานแล้ว

การแสดงรำโตหรือชาวบ้านแถบนี้เรียกว่า ‘ถ้าโต’ นั้น ถือเป็นไฮไลต์

ของงานนี้เลยทีเดียว ผู้แสดงประกอบด้วยผู้ชายสองคน คนหนึ่งสวมหัวมังกร

และเป็นสองขาหน้า ขณะที่คนด้านหลังเป็นสองขาหลัง ต้องคอยก้มเพื่อให้

มีลักษณะเดียวกับสัตว์สี่เท้า เต้นตามจังหวะที่ฝึกกันมาเป็นอย่างดีกับคน

ข้างหน้า ให้คอยกลิ้งหลุนๆ ไปพร้อมๆ กัน เรียกเสียงฮือฮาและรอยยิ้มจาก

ผู้ชมได้มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อแสดงบนถนนสี่แยกก่อนขึ้นวัด โต

จะวิ่งเอาเขาขวิดไปรอบๆ ผู้ชม เพื่อเปิดทางให้กว้างลำหรับการแสดง ชาวบ้าน

จะหัวเราะครื้นเครงรีบถอยกรูดกันทันทีด้วยความสนุกสนานอย่างยิ่ง

“ก็...ไม่คิดว่าจะจำได้” เพื่อนสาวพูดขึ้นอีกครั้งหลังกลืนขนมลงคอไป เรียบร้อย “เห็นว่าไม่ใช่คนแถวนี้”

“แหม จำได้สิ ฉันกำลังศึกษาวัฒนธรรมไทยใหญ่นี่ รู้อะไรต้องจดไว้

หมด” ไม่พูดเปล่า เธอยังหยิบกล้องก่ายรูปขึ้นมาบันทึกภาพบรรยากาศรอบๆ เอาไว้อีก ชนิดที่ไม่ยอมตกหล่นแม้แต่มุมเดียว

“นั่นสินะ ฉันลืมไป เดี๋ยวเขาก็จะรำนก แล้วต่อด้วยถ้าลาย วันนี้วัน

ปอยใหญ่ มีสมาชิกไทยใหญ่มาแสดงแข่งกันถึงเจ็ดวัด ได้ดูโตจนฉํ่าใจเลย

แหละ” เพื่อนซึ่งคุ้นเคยกับงานแบบนี้ดีอธิบาย อันที่จริงครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก

ที่เกตุแก้วมาเที่ยวงานปอยที่ชาวบ้านเรียกกันง่ายๆ ว่า ‘ปอยโต’ แบบนี้ ครั้ง

แรกนั้นต้องนับย้อนหลังไปเกือบสิบปีได้ เป็นช่วงที่เธอกำลังเรียนชั้นมัธยม

ปลายในจังหวัดเชียงใหม่ ได้พบเพื่อนสาวที่กลายมาเป็นเพื่อนสนิทจนบัดนี้ จากนั้นเมื่อได้รับคำชวนให้มาเที่ยวอำเภอเล็กๆ ทางภาคเหนือชองจังหวัด เธอก็ไม่รีรอที่จะตามมา

ครั้งนั้นเธอรู้สึกประทับใจแบบเด็กๆ หากอบอุ่น คุ้นเคยกับที่นี่อย่าง ประหลาด และความรู้สึกนั้นยังคงตราตรึงอยู่ในความทรงจำตลอดมา จึงมัก ค้นหาประวัติศาสตร์ชองเมืองมาอ่านเป็นประจำ พอเริ่มเขียนนิยาย ตำนาน

พระนางสามผิวจึงเป็นเรื่องที่เธออยากจะนำมาเขียน แต่ยังไม1มีโอกาสได้เริ่ม

ด้วยเหตุนี้ เมื่อเธอมีโครงการจะทำงานชั้นต่อไป ก็มิรั้งรอที่จะติดต่อ

เพื่อนสาว ซึ่งเวลานี้เช้ามารับช่วงร้านค้าวัสดุก่อสร้างแทนบิดามารดา กลาย

เป็นเถ้าแก่สาวที่มีแต่หนุ่มๆ มาหมายปอง

“ว่าแต่แกจะเอาจริงหรือ เรื่องเขียนนิยายย้อนเวลาไปในสมัยเจ้าพญา ฝางน่ะ” อภิญญาถามซํ้าเป็นครั้งที่เท่าไรก็ไม่อาจนับได้

“เอาจริงสิ ไม่งั้นคงไม่มารบกวนแกหรอก” คนตอบยิ้มบางๆ หากเต็มไปด้วยความมั่นใจ

“ไอ้เรื่องรบกวนน่ะ ไม่มีปัญหาหรอก ฉันอยู่กันสามคนพ่อแม่ลูก บ้าน

หลังออกใหญ่โต มีแกมาอยู่เป็นเพื่อนจะได้มีคนนั่งฟังฉันเมาท์ได้” เจ้าถิ่น

กลับชอบใจที่เพื่อนมาขออาศัยชั่วคราวระหว่างหาข้อมูลสำหรับการเขียน

นิยายเรื่องใหม่ หากยังเป็นห่วง “แต่ที่ฉันกังวลน่ะ มันเรื่องข้อมูลต่างหาก

มันยากนะแก้ว จะไปหามาจากไหนกัน”

“อย่าลืมนะว่าฉันเรียนประวัติศาสตร์มา ข้อมูลจากตำรับตำราจาก

ที่เรียนก็มีเยอะ เหลือแต่รายละเอียดชองตำนานเมืองฝางเท่านั้นเอง ต้องเอา

มาวิเคราะห์ให้สอดคล้องกับประวัติศาสตร์ล้านนากับชองพม่า เพื่อไม่ให้

เนื้อเรื่องมันเปลี่ยนแปลงไปจากสิ่งที่เกิดชื้นจริงมากนัก” เกตุแก้วอธิบาย

“แล้วแกจะรู้ได้ไงว่าในอดีตมันเกิดอะไรขึ้นจริง”

“ไม่มีใครรู้หรอก” คนตอบยักไหล่ “ก็ได้แต่อ่านจากบันทึกของคนใน

อดีต ผสมกับตำนาน นิทานพื้นบ้านเข้าด้วยกันนั่นแหละ”

“แหม จินตนาการเก่งเหลือเกินนะยะ คิดได้เป็นฉากๆ” อภิญญาเหน็บ ด้วยความหมั่นไล้เพื่อนรัก ที่คิดอะไรก็เป็นพลอตนิยายได้หมด ตั้งแต่สมัย

เรียนมหาวิทยาลัยแล้ว เกตุแก้วจะนำวิชาประวัติศาสตร์ที่ได้รํ่าเรียนมาผูกเป็น เรื่องราวความรักของพระนางในอดีต เขียนเป็นนิยายขายดี เป็นที่รู้จักในหมู่

นักอ่าน จากนั้นเพื่อนสาวยังมีผลงานออกมาต่อเนื่องอีกหลายเล่มจนกระทั่ง

เรียนจบ และได้รับการตอบรับจากตลาดเป็นอย่างดี เมื่อโครงการเก่าจบ ก็จะ

หาโครงการใหม่เขียนต่อ เป็นเช่นนี้เรื่อยไป แม้เจ้าตัวจะเดินทางไปรํ่าเรียนต่อ ปริญญาโทที่เมืองนอกเมืองนา ก็ยังไม1ทิ้งงานเขียนไป

“แน่นอน” คนตอบยักคิ้ว ขึ้นเสียงสูงด้วยความมั่นใจ จึงได้รับค้อน วงใหญ่จากเพื่อนตอบกลับมา

“จ้า ขอไหได้ข้อมูลตามที่ต้องการก็แล้วกัน”

เกตุแก้วยิ้มกว้างรับคำอวยพร ก่อนจะยกกล้องก่ายภาพการแสดง ‘รำนางนก’ ต่อจากการแสดงชุดที่ผ่านไป หากเห็นมาหลายชุดแล้วก็เริ่มเบื่อ จึงชวน

“ขึ้นไปบนวัดกันไหม จะได้ไปถ่ายรูปบรรยากาศข้างบนด้วย”

“ไปสิ วันนี้ฉันมอบให้แกเต็มที่อยู่แล้ว” เพื่อนสาวเจ้าถิ่นไม่ปฏิเสธ แล้ว

ทั้งสองก็เดินขึ้นไปบนอุโบสถไม้หลังใหญ่ ซึ่งกว้างขวางพอที่จะบรรจุญาติโยม

ได้นับร้อย ด้านในสุดติดผนังเป็นพระพุทธรูปศิลปะแบบไทยใหญ่ประดิษฐาน

อยู่ อุโบสถแบบนี้ มักจะเป็นเรือนเดี่ยว ซึ่งใช้ประกอบกิจกรรมทางศาสนาทุก อย่าง จึงมักมีขนาดกว้างใหญ่ เป็นลักษณะคล้ายศาลาที่สามารถเปิดหน้าต่าง ให้ลมโกรกได้รอบทิศทาง ไม่เหมือนศิลปะแบบไทยที่ก่อด้วยอิฐและปิดมิดชิด กว่า

เกตุแก้วก้มกราบพระ ก่อนยกมือขึ้นพนมกลางอก เพื่อฟังพระเทศน์

 

หากสายตาก็กวาดไปรอบๆ เห็นชายหญิงส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัยนั่งฟังธรรมกัน

อยู่เต็มห้องโถงนั้น ส่วนเด็กๆ และวัยรุ่นจะสนุกกับงานรื่นเริงด้านล่างมากกว่า

เสียงธรรมอันเสนาะหู...ฟังแล้วจิตใจรู้สึกสงบลงอย่างประหลาด แต่

เมื่อนึกขึ้นได้ว่ามีงานต้องทำ เกตุแก้วก็รีบหยิบกล้องถ่ายรูปขึ้นมาบันทึกภาพ บรรยากาศนั้นเอาไว้ เมื่อถึงเวลาต้องลงมือเขียนนิยายจะได้เล่าในสิ่งที่เห็นเป็น ตัวอักษรได้อย่างละเอียดลออ

จากนั้นก็ยกมือขึ้นรับฟังธรรมต่อ พระอาวุโสเทศน์ถึงความสำคัญของ

วันออกพรรษา หลังจากพระภิกษุจำวัดมาตลอดฤดูฝนเพื่อหลีกเลี่ยงการ

เหยียบยํ่าทำลายข้าวของชาวบ้านตามประเพณีโบราณกาล

จะด้วยความศรัทธาหรือจิตที่สงบลงก็ไม่อาจรู้ได้ เกตุแก้วรู้สึกว่าเสียง ธรรมนั้นก้องกังวานไปทั่ว เป็นที่เสนาะหูยิ่งนัก ยิ่งนานไป ภาพเบื้องหน้ากลับ

ดูสลัวลง เหมือนเป็นแสงจากตะเกียง ไม่ใช่ไฟฟ้าอย่างปัจจุบัน ชายหญิง

สูงอายุที่นั่งเรียงรายอยู่ตรงหน้าสวมใส่ผ้าสีชาวและมีสไบพาดบ่า หากมีสิ่ง

หนึ่งที่ดูผิดแผกไปจากเมื่อครู่นี้ก็คือ ตรงด้านหน้า ทางชวามือชองพระนั้น

มีชายหญิงคู่หนึ่งนั่งพับเพียบอยู่บนตั่งสูงกว่าชาวบ้านทุกคนในที่นั้น สีหน้า

อิ่มเอิบสดใส มือพนมอยู่กลางทรวงอกนิ่ง ดวงตาหลุบลงน้อมรับฟังคำเทศนา จากพระ...ด้วยภาษาที่แตกต่างออกไป

เกตุแก้วฟังไม่ออกว่าพระเทศน์อะไร หากเธอก็ไม่สนใจ เพราะมัวแต่

มองรูปโฉมอันงดงามตระการตาชองหญิงสาวที่นั่งเคียงข้างชายผู้มีท่วงท่า ลักษณะงดงาม ภูมิฐาน ผิวชองท่านเป็นสีชมพูระเรื่อ ผุดผาดยิ่งนัก เธอจ้อง มองด้วยความฉงนใจ ว่าใครหนอช่างมีรูปงามถึงปานนี้ จึงใคร่จะเห็นใบหน้า

ของหล่อนให้ชัด จึงชะเง้อตัวข้ามศีรษะคนข้างหน้า หมายจะหาจุดที่เห็น

ชายหญิงทั้งคู่ได้ชัดเจนขึ้น แต่แล้วหญิงสาวผู้นั้นกลับค่อยๆ เบือนหน้ามาทาง

เธอ แล้วมุมปากอวบอิ่มก็ค่อยๆ คลี่ออกอย่างมีเมตตา

“ไปเถอะแก้ว พระเทศน์จบแล้ว”

ร่างชองเธอถูกเขย่าจนสะเทือนไปทั้งตัว ทำให้ภาพตรงหน้าเลือนหาย

วับไปกับตา เมื่อเกตุแก้วหันมองเพื่อน เธอก็ขมวดคิ้ว รีบหันไปยังด้านหน้าอีกครั้ง

“อ้าว ไปไหนแล้วล่ะ” เธออุทาน “ใคร? ไปไหน?” อภิญญางุนงง

“ก็เมื่อกี้ทางโน้นน่ะ มีผู้ชายผู้หญิง ท่าทางสง่าภูมิฐานเชียวนั่งฟังเทศน์ อยู่ตรงข้างหน้าเลย นั่งตั่งสูงกว่าพวกเราด้วยน่ะ”

“ว้าย ใครนั่งตั่งสูง ไม่เห็นมีใครเอาตั่งมาตั้งสักหน่อย มีแต่พวกเรากับ พวกป้าๆ ลุงๆ พวกนี้แหละ” คนอุทานรับชี้นิ้วไปรอบๆ ตัว ด้วยผู้สูงวัย

ทั้งหลายกำลังทยอยเดินลงจากศาลา

“ฉันเห็นจริงๆ นะ” เกตุแก้วยืนยัน “แล้วผู้หญิงคนนั้นก็สวยมากๆ

เลย เกล้าผมสูง ประดับด้วยดอกไม้สีขาว เหมือนสาวโบราณไม่ผิดเพี้ยนเลย

แถม ยังหันมา ยิ้มให้ฉันด้วยนะ”

คนฟังได้ยินแล้วก็ขนลุกซู่ขึ้นมาในบัดดล และไม่แสดงความคิดเห็น

ใดๆ อีกนอกจากบอกว่า

“รีบไปเหอะ ฉันอยากกลับบ้านแล้ว”

หากเกตุแก้วยังสงสัย “เดี๋ยวสิ” ทั้งยังชะเง้อชะแง้ดู

“ไปเถอะ...เร็ว” คนพูดทั้งลากทั้งดึงให้ลุก “คนโบราณมาปรากฏตัวให้ เห็นแล้ว ฉันยังไม่อยากหัวโกรัน รีบไปเร็วเข้า”

คนถูกดึงลุกตามอย่างงงๆ และยังถูกลากออกไปจนถึงที่จอดรถแล้ว

นั่นแหละ จึงได้รู้สึกตัว

“แกว่าอะไรนะ คนโบราณอะไร”

“ก็ที่แกเห็น'นะ คงเป็นเจ้าเมืองลักคนหนึ่งของที่นี่ในอดีตนั่นแหละ เขา พูดก้นออกบ่อยว่าคนโบราณชอบฟังเทศน์ฟังธรรม วันพระใหญ่แบบนี้พวก ท่านอาจจะมาร่วมฟังด้วยก็ได้” เจ้าถิ่นบอกเสียงสั่นๆ ก่อนจะรีบสตาร์ตรถ

บึ่งกลับบ้านในทันที

เกตุแก้วยังอึ้งจนพูดไม่ออกขณะเดินเข้าบ้านคอนกรีตทันสมัยหลังใหญ่

ด้านหลังร้านค้าอุปกรณ์ก่อสร้างของเพื่อนสาว จนลืมสังเกตว่ามีรถยนต์จอด

ในโรงรถเพิ่มขึ้นอีกค้นหนึ่ง ไม1ได้ยินแม้กระทั่งเสียงเปรยข้างตัว

“เฮียมาถึงเสียดึกเลย”

เมื่อก้าวเข้าไปในบ้าน อภิญญาก็ถามมารดาที่กำลังปิดบ้านเตรียมจะเข้านอน

“แม่เจ้า เฮียมาถึงละกา”

“มาแล้ว เมื่อตะกี้นี้เอง มาถึงก็กิ๋นข้าว แล้วไปอู้กับเตี่ยสองสามคำ ก็ว่า อิด ขอนอน บอกว่ายังมีวันหยุดหลายวัน ก่อยอู้กันวันพูก” แม่จั๋นตาตอบ บุตรสาว หล่อนเป็นคนพื้นเมืองขนานแท้ที่ได้แต่งงานกับทิมเฮง หนุ่มชาวจีน

ซึ่งอพยพมาจากแผ่นดินใหญ่ และมาตั้งรกรากอยู่ที่อำเภอเล็กๆ แห่งนี้เมื่อ

หลายสิบปีก่อน มีบุตรชายหญิงด้วยกันสองคน

“อะไรว้า มาถึงก็นอน น้องนุ่งไม่ต้องทักทาย ปีหนึ่งแทบไม่เห็นหน้า” อภิญญาบ่นงึมงำให้เพื่อนสาวฟัง แต่ก็รู้ว่าพี่ชายคงเหนื่อยจากการทำงาน

จริงๆ ถึงได้ขอเข้านอนเร็วถึงเพียงนี้

“เป็นหมอก็งี้แหละ” เกตุแก้วช่วยปลอบใจ

“แม่น” จั๋นตายิ้มบางๆ และสนับสนุนอีกคน “เฮียบอกว่าช่วงนี้คนไข้ ผ่าตัดสมองมีนัก'ขนาด นี่กว่าจะได้ลาหยุด ต้องฝากเคสหื้อเปื้อนดู บะอั้นบ่ได้

ลาพักร้อน ปล่อยหื้อเฮียพักไปเต๊อะ วันพูกก่อยไปหา”

“เจ้า” เพื่อนสาวตอบมารดา

“ปอยโตม่วนก่” นางจั๋นตาถามขึ้น ด้วยรู้ว่าสองสาวไปเที่ยวงานบุญมา

 “ม่วนเจ้า แต่ว่า...” บุตรสาวห่อไหล่ ก่อนจะลูบแขนตัวเองแรงๆ “ตะกี้ ตอนฟังเทศน์ แก้วบอกว่าหันปู้ยิงกับปู้ชายนั่งบนตั่งสูงหน้าพระ แต่หนิง

บ่หัน อู๊ย อู้แล้วขนลุก เห็นอะหยังก่บ่อู้”

            (โปรดติดตามต่อในฉบับเต็ม)

รายละเอียด

คนหนึ่งเกิดมาเพื่อชดใช้ผลกรรมที่เธอไม่เคยรู้ว่าได้ก่อไว้ 
 
คนหนึ่งเกิดมาเพื่อทำตามสัญญาที่ให้ไว้ในอดีตชาติ 
 
เกตุแก้ว สาวน้อยนักเขียนผู้เดินตามเสียงเพรียกแต่ปางก่อนให้มาสู่เมืองฝาง 
ดินแดนแห่งอดีตชาติที่ผ่านพ้นมากว่า ๓๗๐ ปี ด้วยวิบากกรมจากชาติภพเดิมที่เธอ
ผู้เป็นเจ้านางเฮือนแก้วได้ก่อไว้ ทำให้เธอต้องกลับมาประสบเคราะห์อย่างสาหัส 
 
รวินทร์ นายแพทย์หนุ่มจึงเข้ามาเป็นผู้ดูแลเธอด้วยหัวใจที่ผูกพัน ด้วยคำมั่นสัญญา
ที่มีต่อกันในอดีตกับกรรมที่กำลังส่งผล จึงมีเพียงเดิมพันเดียวเท่านั้นคือ ชีวิตของเธอ

รีวิว (1)

เขียนรีวิว

จตุพร | 1 รีวิว
27/06/2014

“เจ้านาง” เป็นนิยายแนวย้อนไปยังอดีตชาติค่ะ และเพราะผลกรรมที่เคยก่อไว้ในชาติที่แล้ว ทำให้ตัวละครในเรื่องนี้เดินทางมาพบกันอีกครั้งในชาติปัจจุบัน เรื่องมีอยู่ว่า “เกตุแก้ว” นางเอกซึ่งมีอาชีพนักเขียนเดินทางมาหาข้อมูลสำหรับงานเขียนของเธอที่ “เมืองฝาง” ค่ะ เพื่อนสนิทของนางเอกเป็นคนเมืองนั้นพอดี นางเอกเลยมีเพื่อนคอยช่วยแนะนำการหาข้อมูล แต่กรรมที่ตามมาจากชาติที่แล้วทำให้นางเอกประสบอุบัติเหตุกลายเป็นเจ้าหญิงนิทราค่ะ ซึ่งนายแพทย์เจ้าของไข้จะเป็นใครไปไม่ได้เลยนอกจากพระเอกของเรา “ นายแพทย์รวินทร์” พระเอกได้พบนางเอกครั้งแรกก็หลงรักทันที ซึ่งเขามารู้ตอนหลังว่าว่าน้องสาวเขาซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของนางเอกพยายามจะเป็นแม่สื่อให้ทั้งคู่หลายหลัง แต่กี่ครั้งๆก็แคล้วคลาดกันทุกที ระหว่างที่นางเอกเป็นเจ้าหญิงนิทรา ดวงจิตของนางเอกก็ย้อนไปยังอดีตชาติ อาจจะเป็นฝันหรือเพราะกรรมก็ไม่รู้นะคะ แต่เธอมองเห็นว่าอดีตของเธอนั้นคือ “เจ้านางน้อยเฮือนแก้ว” มีศักดิ์เป็นหลานของพระนางสามผิวกับพระเจ้าพิมมะสาร ที่ปกครองเมืองฝาง ฝ่ายพระเอกก็เองดันฝันเรื่องเดียวกันว่าเขาคือ “แสงคำ” ขุนพันของเจ้าเมืองเชียงใหม่ ที่ตอนหลังมาอยู่ภายใต้การปกครองของเมืองฝางค่ะ และที่สำคัญคือเขากับเจ้านางน้อยเคยรักกันมาก่อน แต่เพราะเวียงฝางต้องการผูกมิตรกับเวียงแข่ พระเจ้าพิมมะสารจึงยกเฮือนแก้วให้แต่งเป็นชายาของ เจ้าขุนคำเสือ เพื่อหวังให้ช่วยกันรบกับพม่า แต่นอกจากเจ้าขุนคำเสือจะไม่ยอมช่วยแล้ว ยังจะไปสวามิภักดิ์พม่าอีกต่างหาก เฮือนแก้วเลยเสียใจมากเพราะการตัดใจจากคนรักมาแต่งงานกับเจ้าขุนคำเสือไม่ได้ช่วยอะไรบ้านเมืองตนเลย น่าสงสารนางเอกเนอะ ในนิยายผู้เขียนไม่ได้บรรยายให้นางเอกกับพระเอกฝันครั้งเดียวจบหรอกนะคะ ฝันหลายวันค่ะ พอตื่นมาพระเอกก็มานั่งเฝ้านางเอกที่โรงพยายาลเพ้อถึงที่เขาฝันอะไรประมาณนี้ นางเอกในภาคปัจจุบันก็น่าสงสารค่ะ บทบาทน้อย เธอรู้และได้ยินสิ่งที่ทุกคนมาพูดแต่ไม่สามารถตอบโต้หรือลืมตาได้ บทบาทในภาคอดีตจึงเด่นมากกว่าเป็นธรรมดา ประเด็นปมหลักสำหรับเรื่องนี้จึงคือการหาวิธีช่วยให้นางเอกพ้นสภาพเจ้าหญิงนิทรา พระเอกก็พยายามเก็บข้อมูลจากความฝัน เพราะไม่รู้ว่านางเอกไปทำกรรมอะไรไว้ในชาติที่แล้ว จนเกือบท้อๆ ในตอนท้ายค่ะ แต่เพราะความเป็นคนดีและก่อกรรมในชาติที่แล้วโดยไม่รู้ตัว พระภิกษุรูปหนึ่งจึงปรากฎตัวขึ้นเพื่อช่วยชี้ทางสว่างให้พระเอกค่ะ เรื่องนี้พระเอกเลยได้บทฮีโร่ช่วยเหลือคนรักไปเต็มๆ มีช่วงก่อนจบที่พอนางเอกฟื้นขึ้นมาก็รักกับพระเอกอย่างรวดเร็ว ที่ดิฉันอ่านแล้วขัดใจนิดๆ แต่พอเข้าใจค่ะ เพราะชาติที่แล้วพวกเขาเป็นคนรักกัน แถมยังฝันถึงกันอีก พอตื่นมาเลยจูนหากันไวเป็นธรรมดา ส่วนข้อมูลของเรื่องนี้อิงประวัติศาตร์ในระดับหนึ่งอ่านแล้วเห็นภาพเป็นฉากๆ สนุกใช้ได้ค่ะ

สินค้าที่ใกล้เคียง (96 รายการ)

www.batorastore.com © 2024