ครุฑยุดนาค (ส.พลายน้อย)

ครุฑยุดนาค (ส.พลายน้อย)

0 รีวิว  0 รีวิว    
รหัสสินค้า: 9786165002059
ของหมด (ต้องการสินค้า)
ราคา: 160.00 บาท 40.00 บาท
ประหยัด: 120.00 บาท ( 75.00% )

เนื้อหาบางส่วน

บทนำ

หลายประเทศในทวีปเอเชีย มีเรื่องเกี่ยวกับนกประหลาดในนิยาย ปรัมปรา นกบางชนิดมีขนาดใหญ่พอที่จะให้มนุษย์ใช้เป็นพาหนะบินขึ้นไปบน สวรรค์ บางชนิดมีพลกำลังเก่งกล้าสามารถสู้รบกับมนุษย์จำนวนมากได้ นกในนิยายจีนที่รู้จักกันดีก็คือนกเฮาะ และมีชื่อเรียกต่างกันไปเช่นในประวัติเซียนฮั้นเจงหลีกล่าวว่า เง็กเซียนฮ่องเต้มีรับสั่งให้เซียนเฮาะ (นกเฮาะ) มารับฮั้นเจงหลีขึ้นไปบนสวรรค์ ในประวัติของลื่อท่งปินว่าได้เขียนรูปนกเฮาะ ไว้ข้างฝาร้านเหล้าของนางซินสี เวลาคนมากินเหล้าที่ร้านก็ให้นางซินสีเสก คาถาว่า “เทียนเซงตี้เล้ง เซียนเฮาะกั๊งเซ้ง” เมื่อนางซินสีเสกคาถานี้ นกเฮาะก็กระโดดลงมายืนบนโต๊ะ แล้วร้องเพลงเสียงไพเราะจับใจนัก ร้องจบแล้วก็เข้า อยู่ข้างฝาเป็นรูปเขียนตามเดิม ปรากฏว่ามีคนชอบฟังเพลงของนกเฮาะ และมากินเหล้าที่ร้านนี้กันมาก ลื่อท่งปีนเห็นว่านางซินสีรวยแล้ว ก็เรียกนกเฮาะออกจากผนังแล้วขี่บินไป

นกเฮาะหรือนกเซียนเฮาะนี้เป็นนกอย่างเดียวกันคือเป็นนกของเซียน แต่มีอีกชนิดหนึ่งเป็นนกใหญ่เรียกว่าไต้เฮาะ ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาค พันธุ์) เขียนอธิบายไว้ว่า “ในทะเลเหนือของจีนมีนกมหึมาเรียกว่าไต้เฮาะ (ผู้เขียนวานคนจีนเขาอ่าน เขาบอกว่าไต้แปลว่าใหญ่ เฮาะเป็นชื่อ) รูปร่างใหญ่โตมหึมาเหลือประมาณ ถึงเดือน ๖ หน้าคลื่นลม นกเฮาะจะกางปีกออกปกฟ้ามิด เริ่มวิ่งฝ่าระลอกคลื่นเป็นระยะไกล ๓,๐๐๐ ลี้ก่อน แล้วก็โผทะยานขึ้นสู่ อากาศเป็นระยะสูง ๙,๐๐๐ ลี้ บินมาอาศัยอยู่ในเกาะมลายู นกเฮาะฝรั่งว่า เป็นนกที่เรียกว่านกรุค (Rukh) ถ้าเป็นนกรุคก็ตรงกับนกร้อค (Roc) ตามที่มี ในอาหรับราตรี... เมื่อเช่นนี้นกเฮาะก็เห็นจะเป็นนกร้อคนั่นเอง เสียงเฮาะกับ ร้อคเข้ากันได้ดี อาจเป็นคำเดียวกัน แต่หากเรียกเพี้ยนกันไปตามสำเนียงแขก และสำเนียงจีน”

ลักษณะของนกเฮาะมีกล่าวไว้ในเรื่อง เลียดก๊ก ตอนหนึ่งว่า “รูปพรรณ ขาวเหมือนนกยาง แต่มืหงอนเหมือนไก่ตัวใหญ่เท่าหงส์เป็นนกอันวิเศษ” ได้ ความเพียงเท่านี้

นกของจีนที่มีชื่อคล้ายนกเฮาะก็คือนกโฮ ในหนังสือ เลียดก๊ก กล่าว ถึงนกโฮว่า ชาวจีนชอบยกเป็นตัวอย่างของพวกลูกที่ไม่รู้จักคุณของพ่อแม่ เพราะเมื่อนกโฮฟักพ่องไข่ออกมาเป็นตัวแล้ว ก็อุตส่าห์เลี้ยงดูจนลูกเติบใหญ่ ออกไปหากินได้ แต่เมื่อถึงฤดูที่แม่นกผลัดขนต้องนอนจับเจ่าอยู่กับรัง และวันใดที่ลูกนกโฮหาอาหารกินไม่ได้ มันก็จะกลับมาจิกเนื้อแม่ของมันกิน จึง ถือว่าเป็นนกอกตัญญ ไม่เหมือนนกเฮาะ

ประวัติความเป็นมาของนกโฮดังกล่าวไม่ค่อยชัดเจน แต่ชื่อไปคล้าย กับนกของจีนอีกชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่า โฮโฮ (Ho-Ho) ว่ามืรูปร่างเหมือนนกยูง (ดูรูป) แต่เป็นนกชั้นดี เป็นนกให้คุณ และว่านกนี้ได้แพร่ไปถึงญี่ปุนเรียกว่าโฮ หรือโฮโอะ (Ho, Ho-o) ในเอกสารบางแห่งกลับอธิบายว่านกโฮหรือโฮโอะนี้ รู้จักกันในภาษาจีนว่าเฟง (Feng) เป็นนกอยู่บนสวรรค์จะลงมายังโลกมนุษย์เพียงครั้งเดียวเท่านั้นในหนึ่งพันปี นกโฮมีขนหลายสี คือ แดง เหลือง ดำ น้ำเงิน และขาว ซึ่งหมายถึงมนุษยธรรม ความมีหน้ามีตา ความฉลาด ความ ชื่อสัตย์ และความสุภาพ นกโฮเป็นสัญลักษณ์ของความมีอายุยืนและโชคดี มีเสียงไพเราะเหมือนเสียงดนตรี เป็นนกเดินข่าวสารและเป็นพาหนะของเซียน แสดงว่าเป็นนกใหญ่มีกำลัง

นกทิพย์อีกชนิดหนึ่งของจีนเรียกว่าหง (แต้จิ๋ว) ถ้าเป็นตัวเมียเรียกหว่อง เรียกรวมกันทั้งตัวผู้ตัวเมียว่าฝงหว่อง (กวางตุ้ง) ฮ่งฮวง (แต้จิ๋ว) และ เฝงหว่าง (จีนหลวง) นกนี้กล่าวกันว่าหัวคล้ายนกพญาลอ จะงอยปากคล้าย นกอีแอ่น คอคล้ายเต่า รูปลายตัวคล้ายมังกร และมีหางเป็นปลา แต่ตามรูปที่นิยมเขียนกันเป็นรูปครึ่งนกยูงและนกพญาลอ เป็นแต่เติมสีสลับเป็นห้าสี (ดูเข้าเค้ากับนกโฮโอะ) หงนี้ถือเป็นเครื่องหมายพระราชินี ได้ตรวจดูในพงศาวดารจีน พบเรื่องนกหงในหนังสือ ตั้งฮั่น กล่าวถึงนกใหญ่ตัวหนึ่งสูงถึง ๗ ศอกเศษ ปากแดง ตาเหมือนตาคน อองมังจึงถามคนทั้งปวงดูว่าเป็นนก อะไรขุนนางคนหนึ่งจึงทูลว่าคือนกหง (ต้นฉบับเดิมใช้หงส์) เป็นพญานก มีตระกูลยากที่ใครจะเห็นได้ง่ายๆ ยกตัวอย่างครั้งพระเจ้าบุนอ๋องประสูติก็ได้ ยินเสียงหงร้อง ก็มีบุญจริงๆ หงตามเรื่องจีนปรากฏว่ามีกำลังมาก ในเอกสารบางแห่งว่า หง (เพิ่ง) เป็นเจ้าแห่งนก หงกระพือปีกกวักหนึ่งไปได้ถึงเก้าพันลี้ (๑ ลี้เท่ากับ ๕๗๖ เมตร) ที่ไปของหงคือเบื้องบนแห่งกลุ่มเมฆในท้องฟ้า แล้ว เที่ยวบินอยู่ในที่ไม่มีใครอาจหยั่งเห็นได้

ตามที่กล่าวมาข้างต้น นกเฮาะ นกโฮ นกหง หรือเพิ่ง หรือเพ่ง น่าจะ เป็นอย่างเดียวกัน แต่สร้างรูปตามจินตนาการและเรียกชื่อผิดเพี้ยนกันไป รวมถึงนกร้อคที่กล่าวถึงในตอนต้นด้วย

นกร้อคในนิยายอาหรับว่าเป็นนกใหญ่อยู่ในเกาะทางทะเลจีน คราว หนึ่งพวกเดินทะเลไปจอดทอดสมออยู่ที่เกาะแห่งหนึ่ง ได้ขึ้นไปบนเกาะและ พบไข่เข้าฟองหนึ่งมีขนาดใหญ่มาก จึงเอาขวานผ่าออกพบลูกนกขนาดมหึมา อยู่ข้างใน ได้เอาไปทำอาหารเลี้ยงกัน คนที่กินปรากฏว่าผมหงอกกันหมด คนที่ไม่เกี่ยวข้องด้วยหนวดเคราดำเป็นมัน พอรุ่งเข้านกร้อคกลับมารู้ว่าพวกเดินเรือกินลูกของมันก็โกรธ พากันขนก้อนหินมาทุ่มจนเรือแตกจมทะเล ตามภาพ เขียนนกรุคของเปอร์เซียเป็นรูปนกขนาดใหญ่ที่สามารถใช้เท้าจับข้างได้ข้างละ ตัวและที่ปากยังคาบข้างได้อีกตัวหนึ่ง แสดงให้เห็นพลกำลังว่ามีมาก

นกที่ใช้เท้าจับข้างได้ข้างละเชือกนี้ทางศรีลังกาก็มี เขาเรียกว่านกเอต กันทะ ลิหินิยะ (Etkanda Lihiniya) เป็นนกที่หัวเป็นช้าง มีงาคู่หนึ่ง

นกมีหัวเป็นช้างของไทยก็มี ชื่อที่เรียกเขียนต่างกันไป เช่น นกหัสดี นกหัสดิน นกหัสดีลิงค์ ในนิทานปรัมปราว่าเป็นนกที่มีพลกำลังมาก ใน หนังสือธัมมปทัฏฐบกถา อธิบายว่า “นกเหล่านั้นย่อมทรงไว้ซึ่งกำลังแห่งช้างห้า" เห็นจะหมายถึงมีกำลังเท่ากับช้างห้าเชือก ในเรื่องพระนางสามาวดีกล่าวถึงนก หัสดีลิงค์แลเห็นพระมเหสีของพระเจ้าปรันตปะซึ่งทรงภูษาสีแดง ก็นึกว่าเป็น ก้อนเนื้อโฉบเอาไปในเรื่องสุธนชาดก นางมโนห์ราได้มอบผ้ารัตตกัมพลซึ่งมีสีแดงไว้กับ พระดาบส และสั่งว่าถ้าพระสุธนจะตามนางไป เมื่อไปถึงป่าเชิงหวายใหญ่ ให้ พระสุธนเอาผ้ารัตตกัมพลคลุมตัวไว้ให้แน่น แล้วนอนนิ่งกับพื้นจะมีนกหัสดีลิงค์มาเที่ยวหาอาหาร เมื่อมาพบเห็นผ้าสีแดงก็จะสำคัญว่าเป็นเนื้อกวางทราย นกนั้นก็จะโฉบเฉี่ยวเอาไปถึงรังที่ต้นไม้ใหญ่

นกหัสดีลิงค์ในเรื่องตัวใหญ่เท่าเรือน ฉะนั้นต้นไม้นั้นก็คงจะใหญ่กว่าตัวนกหลายเท่า ตามเรื่องว่า “ที่ริมปาหวายนั้นมีต้นไม้ใหญ่ๆ พญานกอาศัยทำรังอยู่ที่ต้นไม้นั้นมากด้วยกัน พญานกเหล่านั้นล้วนมีกายใหญ่ยิ่งเท่าเรือน”

อย่างไรก็ตามนกต่างๆ ดังกล่าวมาข้างต้น ถึงจะมีกำลังอำนาจแต่นกเหล่านี้ก็ไม่มีเรื่องพิสดารเหมือนนกอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะกึ่งคนกึ่งนก ซึ่งมีชื่อรู้จักกันแพร่หลายว่า “ครุฑ”

ในหนังสือเกี่ยวกับประติมากรรมของอินเดียกล่าวอ้างคัมภีร์ฤคเวทว่ามีนกครุตมาน (Garutman) และว่าชื่อครุฑ (Garuda) มาจาก Garutman นั่นเอง

รูปครุฑในเมืองไทยส่วนมากทำเป็นรูปหัวนก ลำตัวและแขนเป็นมนุษย์ แต่มีขนปีก ท่อนล่างเป็นนก บางแห่งติดปีกไว้ที่ตะโพกก็มี

รูปครุฑของอินโดนีเซียตัวเป็นคนมีปีก หัวเป็นนก นิ้วเท้ายาวมีเพียง ๔ นิ้ว นิ้วมือ ๕ นิ้ว ส่วนครุฑที่ท่าเป็นเครื่องหมายทางราชการทำเป็นรูปนกคล้ายนกอินทรี

รูปครุฑที่เป็นตราของกุมารคุปตะสมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๕ ทำเป็นรูปหน้าคน ตัวเป็นนก ซึ่งผิดกับรูปสลักหินที่แคว้นโอริสสาในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ ที่ทำเป็นรูปมนุษย์มีปีก เช่นเดียวกับศิลปะของเนปาล

สรุปลักษณะของครุฑที่พบทั้งของไทยและต่างประเทศพอจะกำหนด ลักษณะได้ ๕ ประเภท คือ

๑. ตัวเป็นคนอย่างธรรมดาทั่วๆ ไป แต่มีปีก

๒. ตัวเป็นคน หัวเป็นนก

๓. ตัวเป็นคน หัวและขาเป็นนก

๔. ตัวเป็นนก หัวเป็นคน

๕. รูปร่างเหมือนนกทั้งตัว

ส่วนประวัติเรื่องราวของครุฑอย่างพิสดารจะได้กล่าวต่อไปตามลำดับ

ติดตามต่อในเล่ม......

 

 

 

รายละเอียด

แท้จริงแล้วทั้ง "ครุฑ" และ "นาค" ต่างก็มีที่มาจากเหล่ากอเดียวกัน เพราะต่างกันที่ลักษณะทางกายจึงทำให้มีลักษณะเด่นกันไปคนละทาง จากตำนานโบราณของชาติต่างๆ ที่ผู้เขียนรวบรวมไว้แล้วนี้ ได้ชี้ให้เห็นถึงคติความเชื่อเดียวกันว่า "ครุฑ" กับ "นาค" เป็นศัตรูกัน แม้ในศิลปกรรมต่างๆของไทยเราก็มีปรากฎให้กันอยู่ทั่วไป คือภาพของครุฑที่ฉุดรั้งพญานาคหรือที่เรียกกันว่า "ครุฑยุดนาค" ทั้งตำนานของ "ครุฑ" และ "พญานาค" อย่างละเอียดพิสดาร ส.พลายน้อย จึงได้รวบรวมไว้อย่างสมบูรณ์แล้ว


รีวิว (0)


สินค้าที่ใกล้เคียง (96 รายการ)

www.batorastore.com © 2024