กระท่อมปลายนา (กฤษณา อโศกสิน)

กระท่อมปลายนา (กฤษณา อโศกสิน)

0 รีวิว  0 รีวิว    
รหัสสินค้า: 9789742533410
ผู้แต่ง: กฤษณา อโศกสิน
ของหมด (ต้องการสินค้า)
ราคา: 390.00 บาท 97.50 บาท
ประหยัด: 292.50 บาท ( 75.00% )

เนื้อหาบางส่วน

                คุณพิจิตร ทรงศิริ ถอนใจเฮือกใหญ่อย่างกลัดกลุ้มจนคุณสมัยผู้สามี

ซึ่งกำลังสนใจอยู่กับหนังสือพิมพ์รายวันเงยหน้าขึ้นมองลอดแว่นมาทางภรรยา

                “ฉันได้ยินหลายเฮือกแล้ว มันยังไงกัน”

                “ไม่ยังไงหรอกค่ะ คุณ” เธอตอบพลางลุกขึ้น “ก็กลุ้มเรื่องหน่วยสุดท้าย

ของเรานั่นแหละ ฉันสอบไล่ได้มาตั้ง ๖ ครั้งแล้ว คราวนี้เห็นจะสอบตกละ...เฮอ

...ยิ่งคิดยิ่งกลุ้ม”

                “ไปกลุ้มมันทำไม” คุณสมัยตอบอย่างปลงตก พับหนังสือพิมพ์ “สมัยนี้เขา

สมัยไฮโดรลิกแล้ว ไม่ใช่สมัยขี่ม้าตีคลี จะได้มานั่งกลุ้ม”

                “โธ่! คุณ ยังไง ๆ มันก็ลูกของเราค่ะ ลูกสาวคนสุดท้องเสียด้วย สวยกว่า

เพื่อน แล้วจะมาตกอับกว่าเพื่อน คุณจะไม่ให้ฉันกลุ้มได้ยังไง”

                “นั่งเรื่องมันนี่นา มันอยากชอบยังงั้นก็ช่วยไม่ได้” ผู้เป็นบิดาพูดพลาง ลุก

ขึ้นยืนบิดตัว แล้วหายยาวเหยียด คุณพิจิตรค้อนสามีอย่างหมั่นไส้ “ป่านนี้ยัง

ไม่กลับไม่ใช่เรอะ”

                “ค่ะ ยังไม่กลับ” เธอบอกพลางลุกเลิกออกไปชะโงกมองไปทางประตูใหญ่

“นี่ก็เกือบทุ่มแล้ว”

                “คงดูหนังรอบเย็นละมัง ไม่ต้องเป็ยห่วงเขาหรอกน่าเขาโตแล้ว” คุณสมัย

พูดต่อไปอย่างอารมณ์เย็นตามเคย

                “โตอะไรคะ แม่นิจน่ะหรือโต อายุ ๒๒ – ๒๓ เขาไม่เรียกว่าโตหรอกค่ะ”

                “ก็ไปเปรียบกับอายุเกือบ ๕๐ กว่าของแม่จิตรมันก็ไม่โตน่ะซี”

                คุณพิจิตรค้อน

                “คุณละก็ ขัดคอเสียเรื่อย”

                “ก็จริงนี่นา...เขาโตแล้วบรรลุนิติภาวะแล้ว อบรมสั่งสอนมาก็มาก ร่ำเรียน

มาจนมีงานการทำแล้ว ยังคิดไม่ได้แย่เต็มทีละ”

                “อ้อ! แล้วที่มันรักชอบอยู่กับเจ้ากสิน่ะเรียกว่าคิดได้หรือคะ” คุณพิจิตร

ย้อนถามเสียงแหลม

                คุณสมัยยักไหล่

                “พูดก็พูดเถอะนะ อย่าหาว่าฉันขัดคออีกเลย แม่จิตร นึกย้อนไปถึงสมัย

ที่ฉันกับแม่จิตรเป็นหนุ่มเป็นสาวมั่งหรือเปล่า ฉันมีอะไรและเดี๋ยวนี้มีอะไร”

                “โอ๊ย คุณอย่ามาเปรียบเลย มันเปรียบกันไม่ได้ สมัยนั้นมันสมัย

ขี่ม้าตีคลี สมัยนี้มันสมัยไฮโดรลิก” คุณพิจิตรเลียนคำของสามีเมื่อสักครู่

                “เป็นงั้นไป!”

                “ลูกของฉันนี่คะค่ะ ลูกสาวคนสุดท้องที่ฉันมีอยู่ฉันจะมองดูมันไปตกอับ

ยากจนยังไงไหว...โธ่! คุณ ถ้าฉันมีฤทธิ์ ฉันเห็นจะสาปเจ้ากสิให้มันกลายเป็น

มดเป็นปลวกไปเสียเชียว”

                “เธอนี่ชักจะเป็นเอามากนะ” สามีเตือน

                “มากก็มากเถอะ” คุณพิจิตรพูดอย่างกระฟัดกระเฟียด “ฉันเกลียดมันนี่

บอกจริง ๆ ว่า ฉันเกลียดมัน!”

                “เกลียดเขาแค่เขาจนเท่านั้นหรอกหรือ”

                “ก็ไอ้ความจนน่ะ คุณคิดว่ามันไม่น่าเกลียดงั้นซี” นางพิจิตรย้อนตามเคย

“แล้วก็ไม่ใช่จนอย่างเดียว แถมยังบ้านนอกคอกนาอยู่ถึงเมืองป่าเมืองดอยโน่นแน่ะ

...บรรพบุรุษของมันน่ะโกยขี้ควายทั้งโครต!”

                คุณสมัยหัวเราะเยาะ

                “ไอ้ขี้ควายน่ะ ไม่มีใครเขามานั่งโกยกันหรอกเธอจ๋า เขาก็ทิ้งให้มันจมดิน

จมโคลนกลายเป็นปุ๋ยไปนะซี้…”

                “เอ๊ะ! คุณ! นี่มันยังไงกัน” คุณพิจิตรตาเขียว “ตั้งหน้าตั้งตาแต่จะขัดคอ

เสียจริง ๆ เจ้าประคู้น! ชาติหน้าละก็สาปส่งแน่ อย่าได่เจอะได้เจอกันอีกเลยคุณ

กับฉันน่ะ”

                “ตามใจ...แต่ฉันกลัวว่าชาตินี้มี ๗ หน่วย ชาติหน้ามิตอกเข้าไป ๑๒ หน่วย

ละเร้อ” คุณสมัยยั่ว

                “!”

               

                คุณพิจิตรทำเสียงขลุกขลักในลำคอสักครู่ก็สำลักออกมาว่า

                “คอยเถอะ!”

                แล้วเธอก็สะบัดหน้า เดินออกไปหน้าตึก

                “พ่อก็บ้า ลูกก็บ้า บ้าหมด” เธอบ่นอย่างหัวเสีย

                พอดีเหลือบไปเห็นเด็กชายล้น ลูกชายของนายฝอยกับนางต่อมเดินก้มหน้า

อยู่ตรงขอบสนาม อารมณ์หงุดหงิดทำให้คุณพิจิตรตวาดเด็กชายอย่างไม่มีเหตุมีผล

                “นั่นแกทำอะไรอยู่นะ เจ้าล้น”

                “ฟันพ่อหายฮะ”

                “ฮะ”

                “อ้าว! ทำไงถึงหายได้ล่ะ” คราวนี้เสียงของหล่อนอ่อนลงเพราะเกิดอารมณ์

ขัน

                “ไม่ทราบฮะ...เมื่อกี้พ่อเขาทานข้าวเหนียวเขาก็ถอดฟันวางไว้ข้าง ๆ ใบตอง

แล้วเขาก็ลืม เอาใบตองทิ้งถังผง”

                “อ้าว! แล้วไงแกมาหาที่นี่”

                “เขาหาในถังผงแล้วไม่พบฮะ เขาก็เลยให้ผมช่วยหา ผมเห็นพ่อทำต้นไม้

อยู่แถวนี้ นึกว่ามันจะตกอยู่มั่ง

                “พ่อแกก็เหลือเกินนะ ไอ้ฟัน ๒ ซีกนี่น่ะฉันเห็นมันขยันหายจริง ๆ ...ทำไม

ช่างหลวมถึงขนาดนั้นก็ไม่รู้”

                “ของมันหลวงมันได้นี่ฮะ”

                “แกว่าอะไรนะ เจ้าล้น!” นางพิจิตรถาม

                “ผมว่า..ของมันหลวงกันได้ฮะ”

                “แกนี่มันชักจะเขื่องใหญ่แล้วนะเจ้าล้นปรี่!” เธอแหว “พูดกับฉันยังงี้ได้

เรอะ”

                “ไอ้เด็กนี่ทะลึ่ง!” เธอบ่น แต่ถึงกระนั้นก็ยังนึกเอ็นดูเพราะเจ้าล้นคันนี้เป็น

ลูกคนเล็กของคนใช้เก่าแก่ มันเกิดที่ห้องนอนในเรือนครัว และโตขึ้นมาในบ้าน

เพราะเหตุที่คุณพิจิตรไม่เคยมีบุตรชายเลย เธอจึงปรานีเจ้าล้นถึงขนาดที่บางครั้ง

มันก็ ‘ลาม’ เอาบ้าง

                ก็ด้วยเหตุที่เธอไม่เคยมีบุตรชายเลย และหมดหวังที่จะมีได้นี่แหละ ที่ทำให้

คุณพิจิตรเกิดความทุกข์อยู่ในขณะนี้

                มันน่าอัศจรรย์เป็นที่สุด ถ้าจะบอกใคร ๆ ว่าลูก ๆ ของเธอซึ่งทยอยกันก่อกำเนิด

ขึ้นในอุทรของเธอนั้นเป็นสตรีเพศล้วน ๆ ถึง ๗ คน

                ‘ผู้หญิงทั้ง ๗ มันไม่น่าจะเป็นไปได้เลย’ คุณพิจิตรมักจะรำพึงรำพันเสมอ

‘มันน่าจะเป็นผู้ชายซักคน...ซักคนเดียวก็ยังดี นี่ออกมาได้ตั้ง ๗ คน ผู้หญิง

ล้วน ๆ ไม่รู้เทวดาท่านนึกยังไงของท่าน เราก็ไม่ใช่นางมณฑาซักหน่อย’

                ที่เธอมีความทุกข์ยิ่งกว่านั้นก็คือคุณพิจิตรจะต้องทุ่มเทกำลังใจกำลังปัญญา

เลี้ยงดูฟูมฟักธิดาทั้ง ๗ ของเธอด้วยความสามารถซึ่งค่อนข้างจะเรียนได้ว่า ‘พิเศษ’

                ‘ ลูกผู้หญิงน่ะมันเสียง่าย ลงว่าเสียไปแล้วก็เอาคืนมาไม่ได้’

                แต่ความปริวิตกของเธอนี้ขัดกับความเห็นของสามีอีกตามเคย เพราะคุณ

สมัยแย้งว่า

                ‘จะไปเป็นทุกข์อะไรมากนักน้า แม่จิตร ไอ้เรื่องเสียหรือไม่เสียน่ะ มันอยู่

ที่บุญที่กรรมของแต่ละคนต่างหากล่ะ เราไปเนรมิตอะไรได้ ลูกท้องเดียวกันอบรม

มาเหมือน ๆ กัน สิ่งแวดล้อมเหมือนกันทุกอย่าง บางคนมันก็ดี บางคนมันก็เลว

บางคนเป็นนายพล บางคนก็ไม่มีงานทำ เป็นไอ้คนร่อนเร่’

                ‘นั่นคุณพูดอย่างพ่อ แต่นี่ฉันพูดอย่างแม่’

                ‘อ้าว! แล้วกัน พ่อกับแม่น่ะมันต่างกันตรงไหน มันก็รักลูกเหมือน ๆ กัน

แหละ’

                ‘เหมือนกันจริง แต่ไม่เท่ากันค่ะ’

                ‘แหม! เธอนี่ มันช่างเล่นสำนวนโวหารเสียจริง ๆ นะ’

                ตามปกติ คุณพิจิตรเป็นคนที่เรียกได้ว่า ‘ขี้กังวล’ ตรงกันข้ามกับคุณสมัย

ซึ่งเป็นคนที่มีลักษณะคล้าย ๆ กับจะ ‘ปลง’ สิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านไปมาในชีวิตได้ ‘ตก’

อยู่เสมอ แต่มันความเห็นของคุณพิจิตร เธอเห็นว่าสามีของเธอนั้นเป็นคน ‘ชุ่ย’

                ‘ไม่เห็นเอาใจใส่อะไรซักอย่างเดียว อะไร ๆ ก็ช่างมัน ๆ จะช่างได้ยังไงคนเรา

ถ้าลงว่าไม่ชวนขวาย ไม่ทำอะไรให้มันดี มันจะไปดีได้รื้อ’

                ‘ดีหรือไม่ดี เดี๋ยวนี้ฉันก็เป็นผู้อำนวยการได้ละ’

                ‘โอ๊ย! นั่นคุณมันค่อย ๆ ไต่มาทีละขั้นยังไง ๆ มันก็ต้องได้อยู่ดีแหละ ไม่ต้อง

ขวนขวายเลยก็ได้’ คุณพิจิตรว่า

                ‘เธอนี่ ดูถูกผัวชะมัดเลย คุณสมัยเคยติง แต่ก็ไม่สู้จะถือสาภรรยานัก

มารดาของลูก ๗ คน ซึ่งเป็นผู้หยิงล้วน ๆ เดนิกลับไปกลับมาอยู่ตรงนั้น

ต่อไปด้วยความกระวนกระวาย เด็กชายล้นหมดปัญหาฟันของนายฝอยจึงเดิน

เลี่ยงกลับไปยังโรงครัวซึ่งอยู่ด้านหลัง ทิ้งให้นายผู้หญิงยืนอยู่ที่นั่นตามลำพัง’

                ‘เดี๋ยวเถอะ กลับมาจะเทศน์เสียหน่อย’ เธอหมายมั่นปั้นมืออยู่ในใจ

                คุณสมัยเดินออกมายืนอยู่ที่หน้าตึก พลางเรียกภรรยา

                “แม่จิตร เข้ามาเถอะน่า เดี๋ยวเขากลับเขาก็เข้ามาเองแหละ ใครมันจะ

ตระเวนอยู่นอกบ้านได้ทั้งคืนล่ะ”

                คุณพิจิตรหันมาทำตาเขียวในความมืด

                “หมั่นไส้คุณจริง ๆ !” เธอสาวเท้าปราด ๆ เข้าไปยังคุณสมัย “ฉันจะยืนจะ

เดินอยู่ที่ไหนก็ช่างฉันเถอะค่ะ ลูกของฉัน บอกแล้วว่าลูกคนสุดท้องก็ต้องเป็นห่วง

มากหน่อย ถ้ามันเสียไปแล้วฉันจะเอาหน้าไปไว้ไหน”

                “เธอคิดไกลไปถึงยังงั้นเชียวหรือ” คุณสมัยถามยิ้ม ๆ “เธอนี่เป็นแม่เสียเปล่า

เลี้ยงลูกมากับมือ ไม่รู้นิสัยลูกเอาเสียเลย”

                “ลำพังลูกของเรา เรารู้ดีว่ามันไม่ได้รักชั่ว แต่คู่รักของลูกนั่นซีมันจะทำให้

ลูกเราป่นปี้”

                “แต่มันก็ใช่ว่าเพิ่งจะรักกันวันสองวันนี่เมื่อไหร่ มันก็รักกันมาตั้งแต่มันยังต่างคน

ต่างเรียนอยู่นั่นแน่ะ แล้วทำไมเพิ่มจะมาเป็นห่วง”

                “ไม่ใช่เพิ่งเป็นห่วงหรอกค่ะ ห่วงมานานแล้วเพียงแต่ก่อน ๆ มันไม่เคยกลับ

ค่ำคืนกันอย่างนี้”

                “เขาอาจจะมีธุระอะไรของเขาก็ได้”

                “ธุระอะไร ? มีธุระก็น่าจะต้องโทร.มาบอกซี” เธอว่าพลางชะโงกหน้าข้าม

ไหล่สามีเพื่อนมองดูนาฬิกาซึ่งติดอยู่บนผนังในห้อง “ทุ่มครึ่งแล้วมันก็ยังไม่กลับ”

                ความจริงคุณพิจิตรก็น่าจะร้อนใจอยู่บ้าง เพราะทุกวัน กสิกับนิจวดีไม่ได้

แวะเวียนไปไหน เมื่อถึงเวลางานเลิกกสิจะไปรับหญิงสาวที่ที่ทำงาน แล้วคนทั้งสอง

ก็จะตรงดิ่งมาที่นี่ ยึดสนามหญ้าบ้านนี้เป็นที่สนทนากัน นิจวดีก็จะหาอาหารว่าง

เล็ก ๆ น้อย ๆ ให้เขารับประทาน ต่อจากนั้นก็นั่งคุยกันไปจนค่ำ กสิจึงกลับหอพัก

ทุกอิริยาบถของหนุ่มสาวจึงอยู่ในสายตาของคุณพิจิตรตลอดมา

                การที่นิจวดีปฎิบัติตนอยู่ใน ‘กรอบ’ ได้ถึงเช่นนี้เนื่องจากเหตุผลหลาย

ประการ ประการแรกก็คือ ไม่อยากให้มารดาผิดหวัง ทั้ง ๆ ที่ความผิดหวังของ

มารดาหล่อนนั้นบางทีก็เนื่องมาจากเรื่องหยุมหยิม หรือที่เรียกว่า ‘เรื่องเล็ก’ เกิน

ไปสำหรับสมัยปัจจุบัน

                ‘นิจจะรักผู้ชายคนนี้ก็ได้แม่ไม่ว่า ทั้ง ๆ ที่ความจริงแม่ก็ไม่เคยคิดว่าเขาควร

คู่กับลูกหรอก แต่เอาเถอะแม่รักลูก เมื่อลูกรักเขา แม่ก็จะตามใจ แต่ยังไงก็ขอ

ให้นิจสัญญากับแม่อย่างหนึ่งได้ไหมว่าอย่าไปไหนกันตามลำพังค่ำ ๆ เลิกงานขอให้

กลับ อยากจะคุยกันให้มาคุยที่บ้านให้แม่เห็น’

                ประการต่อไปก็คือ

                ‘พี่ ๆ น่ะแต่งงานไปดี ๆ ทั้งนั้น นิจเป็นคนเล็กใคร ๆ ก็กำลังเพ่งดูลูกอยู่นะจ๊ะ

ขอให้ระวังตัว’

                ส่วนประการสุดท้าย นิจวดีพยายามโยงใยความสนิทสนมระหว่างบิดามารดา

ของหล่อนกับชายคนรักอย่างเต็มความสามารถ หล่อนอยากให้กสิชนะใจทุกคนในบ้าน

บ้าน โดยเฉพาะคุณพิจิตรผู้มารดา อยากจะให้เธอเห็นว่าตระกูลรุนชาตินั้นบางที

ก็ไม่มีความสำคัญอย่างใดเลย

                ความพยายามของหล่อนสำเร็จลงบ้านแต่เพียงครึ่งเดียวเท่านั้น เนื่องจาก

คุณสมัยผู้บิดา ดูจะมีน้ำใจปรานีกสิอยู่ใช่น้อย เพราะเป็นความจริงที่ว่า ผู้ชาย

มักจะดูผู้ชายด้วยกันออก ส่วนผู้หญิงนั้นเหตุผลชี้ขาดของหล่อนที่ว่าชายคนใดดี

หรือไม่ดีเพียงใดนั้นอาจจะเป็นเหตุผลจุกจิกอื่น ๆ ที่บุรุษเพศอาจไม่เห็นว่าสำคัญก็ได้

                “รอประเดี๋ยวเถอะน่า อย่าใจร้อนไปเลย” คุณสมัยปลอบ “เขาก็รู้นี่นาว่า

สองทุ่มเป็นเวลากินข้าว”

                “บอกจริง ๆ ว่า ฉันไม่ไว้ใจหรอกผู้ชายสมัยนี้ เผื่อมันพาลูกเราไปเคลนเสีย

ก่อนแล้วจะว่ายังไง”

                “ก็ถ้าลูกเราไม่เป็นใจด้วย เขาจะเคลมได้ละหรือ” สามีย้อนถาม “เรื่อง

พรรณนี้มันต้องอยู่ที่อีกฝ่ายหนึ่งสมัครใจด้วย ฉันน่ะไม่ปรักปรำใครง่าย ๆ หรอก

ก่อนพูดมันต้องดูเหตุผล เราเป็นผู้ใหญ่แล้ว”

                “เราอย่างพูดกันดีกว่า...พูดไปก็มีทะเลาะกัน” คุณพิจิตรตอบห้วน ๆ แล้วผละ

เดินไปยังสนามอีกครั้งหนึ่ง

                คุณสมัยถอนใจยาวตามหลังภรรยา

                ‘คนเรา ลงว่าระงับใจไม่ได้เสียอย่างเดียว มันก็วุ่นไม่รุ้จักจบ’

                เสียงกริ่งดังกังวาน...ช่วยทำให้คุณพิจิตรรีบเดินออกไปยังประตูใหญ่อย่าง

โล่งใจ และคุณสมัยก็พลอยโล่งใจไปด้วยที่จะไม่ต้องฟังเสียงบ่นและเห็นสีหน้าตึง

เครียดของภรรยา

                “อ้อ! เพิ่งจะกลับหรือจ๊ะนี่” เธอประชดเมื่อเห็นหนุ่มสาวทั้งสอง

                “ขอโทษเถอะค่ะคุณแม่” นิจวดีพูดอย่างประจบเมื่อเห็นสีหน้าขมวดมุ่นของ

มารดา ส่วนกสิยืนเงียบ ๆ อยู่ข้างหยิงสาว

                “ไปไหนกันมาจ๊ะ” เธอถามด้วยเสียงค่อนข้างขุ่นมัว

                “ไปเมืองนนท์มาค่ะ”

                “เมืองนนท์ ไปทำไมกัน”

                “ไปดูที่ค่ะ”

                “ที่อะไร ของใคร” เธอซัก

                “ที่ของกสิค่ะ เขาผ่อนส่งไว้นานแล้ว ผ่อนหมดไปแล้วด้วย เขาก็เลยจะ

ไปดูว่า พอจะอยู่ได้หรือยัง”

                “แล้วทำไมไม่โทร.มาบอกล่ะ”

                “นิจก็เพิ่งรู้เมื่อตอนเลิกงานนี่เองค่ะ ไม่ได้กระโปรแกรมกันไว้ก่อน พอพูด ๆ

ขึ้นก็เลยตัดสินใจไปเลยคิดว่าคงไม่ค่ำ แต่พอไปจริง ๆ เข้า กลับค่ำจนได้ นิจรีบ

เสียใหญ่กลัวคุณแม่รอทานข้าว”

                “อ้อ! ก็รู้เหมือนกันหรือ แน่ะคุณพ่อบ่นใหญ่ว่าป่านนี้ยังไม่กลับ ไม่รู้ว่า

ไปถึงไหน แม่หิวข้าวแล้วละเข้ามาเร็ว ๆ เถอะ” เธออ้างถึงคุณสมัยเพื่อให้หนักแน่น

ขึ้น

            (โปรดติดตามต่อในฉบับเต็ม)


รีวิว (0)


สินค้าที่ใกล้เคียง (96 รายการ)

www.batorastore.com © 2024