CLIFFORD GEERTZ (ข้อพิพากษ์ทฤษฎีการเมืองฯ)

CLIFFORD GEERTZ (ข้อพิพากษ์ทฤษฎีการเมืองฯ)

1 รีวิว  1 รีวิว    
รหัสสินค้า: 9789748233581
ของหมด (ต้องการสินค้า)
ราคา: 165.00 บาท 140.25 บาท
ประหยัด: 24.75 บาท ( 15.00% )

รายละเอียด

หนังสือรวบรวมและวิเคราะห์ข้อพิพากษ์ทฤษฎีทางการเมืองต่างๆ ของคลิฟฟอร์ด เกียทซ์ นักวิชาการด้านมานุษยวิทยาชาวอเมริกันคนสำคัญที่มีอิทธิพลต่อแวดวงวิชาการทางด้านสังคมศาสตร์ในปัจจุบัน โดยเนื้อหาภายในได้นำเสนอข้อวิพากษ์เกี่ยวกับ "ทฤษฎีปรัชญาการเมือง" ที่ปรากฏอยู่ในบทความ "The World in Pieces" ของ "Clifford Geertz" ผู้มีส่วนสำคัญต่อการเกิดข้อถกเถียงต่างๆ ระหว่างปรัชญาการเมืองกับมานุษยวิทยามากมาย และช่วยสร้างความขรุขระ (ทางความคิด) ให้ผู้คนที่แตกต่างหลากหลาย ได้เดินไปร่วมกันโดยไม่ลื่นล้มคว่ำลง เพราะความมั่นใจในตนเอง (EGO) ที่อาจมีอยู่มากเกินไป รวมทั้งหนังสือ "ข้อวิพากษ์ทฤษฎีการเมืองกระแสหลักของ คลิฟฟอร์ด เกียทซ์" เล่มนี้จะทำให้คุณผู้อ่านเปิดโลกทัศน์ รับเอาแนวความคิดใหม่ๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อน และทำให้เข้าใจเรื่องราวทางการเมืองได้ดียิ่งขึ้น โดยผ่านการพิเคราะห์ และเรียบเรียงของ "รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยันต์ ไชยพร" อาจารย์ประจำคณะรํฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

192 หน้า

สารบัญ

- บนพื้นน้ำแข็งลื่น?

- บทที่ 4: "ธรรมชาติมนุษย์" ในความคิดของเกียทซ์

- บทที่ 6: ทฤษฎีปรัชญาการเมืองใหม่ของเกียทซ์ : ปฏิเสธทางสองแพร่ที่ต้องเลือกระหว่างสมัยใหม่และสมัยใหม่นิยม
- บทที่ 7: อธิบายขยายความจุดยืนทางทฤษฎีการเมืองของเกียทซ์

 

 

รีวิว (1)

เขียนรีวิว

ทิววาริน | 1 รีวิว
24/08/2014

เป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งของอาจารย์ไชยันต์ ไชยพร แห่งคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ครับ โดยเล่มนี้จะมีความเป็นงานวิชาการสักนิดหนึ่ง แต่ก็ไม่ถึงกับอ่านยากเกินไปครับ อาจารย์ไชยันต์เขียนเชิงแนะนำความคิดและทฤษฎีของคลิฟฟอร์ด เกียทซ์ นักมานุษยวิทยาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกคนหนึ่งที่ยังมีชีวิตอยู่ เกียทซ์เป็นผู้ที่มีคุณูปการต่อวงการสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยามากโดยเฉพาะงานศึกษาเรื่องวัฒนธรรมศึกษาของเขานั้นถูกอ้างถึงในวงการวิชาการมากมาย ซึ่งภายในเล่ม อาจารย์ไชยันต์ได้ทดลองนำความคิดและทฤษฎีของเกียทซ์มาจับเข้ากับปรัชญาการเมือง, ธรรมชาติของมนุษย์ และทฤษฎีการเมืองที่เป็นทางสองแพร่งระหว่างสมัยใหม่ (modernism) และหลังสมัยใหม่ (post-modernism) แต่ประเด็นที่ผู้รีวิวชอบมากที่สุดคือแนวคิดทางวัฒนธรรมศึกษาของเกียทซ์ซึ่งเขามองว่าสภาวะการเมืองในปัจจุบันนั้นต้องการความหลากหลายทางวัฒนธรรม (multiculturalism) มากกว่าความเป็นเอกภาพ เราต้องการความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ภาษา เชื้อชาติ และศาสนามากกว่าการรวมตัวกันเป็นรัฐแล้วกลืนกินให้ทุกคนมีอัตลักษณ์เดียวกัน โลกสมัยใหม่ได้เปลี่ยนไปแล้ว พรมแดนมีค่าน้อยลงพร้อมๆ กับอำนาจอธิปไตยของรัฐชาติที่เสื่อมลงพร้อมๆ กับการเติบโตของทุนนิยมข้ามชาติในยุคโลกาภิวัตน์ เศรษฐกิจกลายเป็นปัจจัยนำการเมือง อย่างไรก็ตามความขัดแย้งที่เกิดจากความแตกต่างทางอัตลักษณ์จอมปลอมที่ถูกสร้างขึ้นมา (identity-based differentiation) นั้นก็ยังดำรงอยู่ต่อไปแม้ว่าเราจะบูรณาการความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจมากแค่ไหน เพราะรากฐานทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่ถูกสร้างผ่านกลไกของรัฐนั้นทำให้เราคิดและมีมุมมองต่อสิ่งต่างๆ แตกต่างกัน สิ่งนี้คือสิ่งที่จะต้องดำรงอยู่ต่อไป เราไม่สามารถบูรณาการใครเข้ามาด้วยการร้องเพลงอาเซียนหรือทำกิจกรรมร่วมกันได้ ดั่งที่เกียทซ์กล่าวไว้ว่า ‘วัฒนธรรมนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเห็นพ้องต้องกันทั้งหมด’ (Culture without consensus)

สินค้าที่ใกล้เคียง (96 รายการ)

www.batorastore.com © 2024