Customer Reviews

5
เล่าถึงเหตุการณ์ในประเทศเยอรมัน (สาธารณรัฐไวมาร์) ก่อนที่ "อดอล์ฟ ฮิตเลอร์" ขึ้นสู่อำนาจโดยละเอียด
โดย: Nueng_Fatdog วันที่เขียนรีวิว: 22 เมษายน พ.ศ. 2559

นับจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลง ไม่มีช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ใดในเยอรมนีที่เป็นประชาธิปไตยมากเท่ากับช่วงเวลาแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ (1919-1933) ทว่าตลอดสิบสี่ปีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ก็เป็นช่วงเวลาแห่งความยุ่งเหยิงปั่นป่วนที่สุดเช่นกัน วิทยาการต่างๆ ได้รับการพัฒนาควบคู่ไปกับการเข้ามาของเทคโนโลยี ศิลปะถูกมองว่าทั้งงอกเงยและเสื่อมทราม ผู้คนที่ทั้งบ้าคลั่งหิวโหยเสถียรภาพท่ามกลางวิกฤตเงินเฟ้อสุดโต่งจึงไขว่คว้าหาผู้นำทางอุดมการณ์ที่จะประคองสังคมให้ผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งความหายนะไปได้ จนกระทั่งหยิบยกเอา 'คนกลาง' ผู้มีนามว่าอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ขึ้นมาเป็นผู้นำปกครองประเทศ
5
เล่าเหตุการณ์ในเยอมันตะวันออกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เยอรมันแยกออกเป็น 2 ส่วน
โดย: Nueng_Fatdog วันที่เขียนรีวิว: 22 เมษายน พ.ศ. 2559

รัฐธรรมนูญฉบับปี 1974 ของเยอรมันตะวันออก ระบุไว้ว่า ประชาชนทุกคน “..มีสิทธิในการร่วมรังสรรค์วิถีชีวิตด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของชาติ...ตรงกับหลักการพื้นฐานคือ ทำงานด้วยกัน วางแผนด้วยกัน และปกครองด้วยกัน...” แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงนั้นกลับแตกต่างไปจากที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ รัฐบาลเยอรมันตะวันออกได้กดขี่และสอดแนมประชาชนของตนเป็นเวลานานถึง 40 ปี รวมทั้งได้ลิดรอนเสรีภาพและสิทธิของประชาชนโดยกล่าวอ่างว่า “กระทำเพื่อประชาชน” (Im Name des Volkes) จวบจนกระทั่งเสียงเรียกร้อง “เราคือประชาชน” (Wirsind das Volk) ดังกระหึ่มไปทั่วประเทศและได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของจุดจบของระบอบคอมมิวนิสต์ในเยอรมันตะวันออกนั่นเอง

ก่อนกำแพงเบอร์ลินจะสิ้นสูญ ได้ฉายภาพโดยสังเขปต่อสถานการณ์บ้านเมืองในเยอรมันตะวันออกช่วงปี 1989 จนกระทั่งถึงวันที่กำแพงเบอร์ลินถูกเปิดออก อันนำไปสู่การสิ้นสูญจากแผนที่โลกของประเทศเยอรมันตะวันออกไปตลอดกาล
www.batorastore.com © 2024